บทที่ 6
การบรูณาการความรู้ (Integrated Knowledge )
การบูรณาการ (Integration) หมายถึง
การประสานกลมกลืนกันของแผน กระบวนการ สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติการ
ผลลัพธ์ และการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ที่สำคัญขององค์กร
การบูรณาการที่มีประสิทธิผล เป็นมากกว่าความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment)
และจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อการดำเนินการของแต่ละองค์ประกอบภายในระบบการจัดการผลการดำเนินการมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์
I :
การบูรณาการความรู้
(Integrated
Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่าง
ๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning
Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้
ทักษะ และเจตคติ
การบูรณาความรู้หมายถึง
การโยงความรู้
หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิดเป็นหนึ่งเดียวในสถานการณ์ต่างๆ การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งเดียวกัน และเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกและยั่งยืน การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็น
โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูล
ข่าวสารมาก
การบูรณาการความรู้อาจเขียนเป็นลำดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้ เริ่มจาก ข้อมูล (data)
สารสนเทศ (information)
ความรู้ (Knowledge)
ปัญญา (wisdom) เป้าหมายหลักของการเรียนคือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ถือว่าสำคัญ
ในหลักสูตรเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curricula)
โดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน ระหว่างหัวข้อ
และเนื้อหาต่าง ๆ
ที่เป็นความรู้ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างกันจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน
ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner อ้างใน วิชัย วงษ์ใหญ่ , 2542
: 8-11) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือความสามารถในแต่ละด้านของผู้เรียนให้พัฒนาไปให้เต็มศักยภาพของตน
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตร 23 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ ซึ่งวิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 2) กล่าวว่า การบูรณาการ คือ การผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ ระหว่างองค์ประกอบหรือ
ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน
เพื่อให้ได้มาสิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีค่าและสมบูรณ์แบบ ได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
การบูรณาการการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง
ๆ ในหลักสูตร จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งไหนที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
หน่วยบูรณาการ thematic approach กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ
-ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
-เกิดองค์ความรู้ ความคิดแบบองค์รวม พัฒนาความสามารถการคิด
-เห็นความเชื่อมโยง นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
-เกิดประสบการณ์ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
-ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 4) กล่าวสรุปได้ว่า ลักษณะบูรณาการ 4 แบบ คือ
1. การสอดแทรก (infusion) การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว วิธีการสอดแทรกนี้ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนำวิชาอื่น ๆ มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง
ๆ ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง ชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นมา
2. คู่ขนาน (parallel) วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชามาวางแผนร่วมกัน เพื่อรวมองค์ประกอบของหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (concept) หรือปัญหา (problem) แล้วผู้สอนแต่ละคน แต่ละวิชาแยกกันและการกำหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอน ผู้สอนอาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวเรื่องหรือปัญหาที่กำหนดไว้ร่วมกัน
3. พหุวิทยาการ (multidisciplinary) วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจากหลายสาขาวิชามาวางแผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (concept) หรือปัญหา (problem) และกำหนดภาพรวมของโครงการร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อย การบูรณาการในหลายสาขาผู้สอนร่วมกันได้หลายชั่วโมง
4. การข้ามวิชาหรือการสอนเป็นทีม (transdisciplinary) วิธีการข้ามสอนหรือสอนเป็นทีมผู้สอนแต่ละรายวิชามาว่างแผนร่วมกันในองค์ประกอบของ หัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (concept) หรือปัญหา (problem) กำหนดเป็นโครงการขึ้นมาและร่วมกันสอนเป็นคณะ
กรมการวิชาการ (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ , 2545 : 6-7) เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไว้ ดังนี้
1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคน มีการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับชีวิตจริง หรือการเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน คิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวเรื่องที่กำหนด
2. การบูรณาแบบคู่ขนาน เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนสองคนขึ้นไป
ร่วมกันจัดการเรียนการสอน โดยยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
3. การบูรณาแบบสหวิทยาการ เป็นการจัดการเรียนการสอนจากการนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน
4. การบูรณาการแบบโครงการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูสอนและนักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการ
และการใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง โดยนำจำนวนชั่งโมงของตาละรายวิชาที่แยกกันอยู่ ที่เคยแยกกันสอน มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 5) สรุปภาพรวมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ วิธีการ กิจกรรม การประเมินผล และผลการเรียนรู้ ไว้ดั้งนี้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 หมวดที่ 4 มาตรา 23 กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษาและใน มาตรา 24(4)
ได้กำหนดไว้ว่า “ การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา”
จอห์น ดิวอี้ ปราชญ์ทางการศึกษาชาวอเมริกา ได้อธิบายถึงความจำเป็นที่โรงเรียนต้องจัดให้มีการสอนแบบ “บูรณาการ” ( Integrate curriculum) หรือการเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาการต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่เน้นการเรียนเป็นรายวิชา ว่า ปัญหาอุปกสรรค
รวมทั้งประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของมนุษย์นั้น จะผสมผสานกัน มิได้แยกออกเป็นส่วน ๆ
ทั้งนี้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ทักษะหลายประการในการเรียนรู้จากประสบการณ์
รวมทั้งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาง่าย ๆ
หรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม แต่การที่โรงเรียนเน้นการสอนแยกเนื้อหาวิชา
จะทำให้การเรียนนั้นไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงของนักเรียน เพราะเด็กมองไม่เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งที่เรียน
กับสิ่งที่เป็นไปในชีวิตจริงนอกโรงเรียน ดังนั้น
หลักสูตที่เน้นการสอนแบบบูรณาการจะสอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็กมากกว่า
โดยจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาวิชาต่าง ๆ
ทั้งยังกระตุ้นให้เด็กใฝ่เรียนรู้
เนื่องจากเขาสามารถนำเนื้อหาและทักษะที่เรียนไปใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการยังช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา ลดจำนวนเวลาเรียน
เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน รวมทั้งส่งเสริมผู้เรียนให้มีโอกาสใช้ ความคิด
ประสบการณ์ ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อมกัน วารสารวิชาการ
(อ้างถึงใน บูรชัย ศิริมหาสาคร,2454) การสอนแบบบูรณาการ (Integrated
Instruction) คือ
การสอนโดยใช้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลักแล้วสอนเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับเรื่องหรือวิชาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างกลมกลืน
เพื่อให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง
การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่างๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่างๆ
มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ
มาใช้ในชีวิตจริงได้สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated
Learning Management) หมายถึง
กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะและ
เจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง
รูปแบบของการบูรณาการ
(Model of integration)
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่พบโดยทั่วไปมีอยู่
4 แบบ
1.
การบูรณาการแบบสอดแทก (Infusion)
การเรียนรู้แบบนี้ครูจะนำเนื้อหาของวิชาต่างๆ
มาสอดแทรกในรายวิชาของตนเองเป็นการ วางแผนการสอนและทำการสอนโดยครูเพียงคนเดียว
ข้อดี
1.
ครูคนเดียวบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้และเวลาที่ใช้โดยสะดวก
2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน ข้อจำกัด 1.
ครูคนเดียวอาจไม่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชาบางเรื่อง
2.
เนื้อหาวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดอาจซ้ำซ้อนกับของวิชาอื่น
3.
ผู้เรียนจะมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
2.
การบูรณาการแบบขนาน (Parallel)
การเรียนรู้แบบนี้ครูตั้งแต่
2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตนเองแต่จะมาวางแผน
ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งสอนในหัวเรื่อง
(Theme) ความคิดรวบยอด (Concept) และปัญหา (Problem) เดียวกันในส่วนหนึ่ง ข้อดี
1. ครูผู้สอนแต่ละคนยังคงบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้เวลาโดยสะดวก
2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน
3.
เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนลดการซ้ำซ้อนลง ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน
ข้อจำกัด
1.
ครูยังคงต้องรับภาระเนื้อหาวิชาที่ไม่ชำนาญ
2.
ผู้เรียนยังมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
3.
การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline) การเรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบคู่ขนาน ครูตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็นส่วนใหญ่
มาวางแผนการสอนร่วมกันในการให้งานหรือโครงการที่มีหัวเรื่อง
แนวคิดหรือความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
ข้อดี
1.
สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม
2. ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน
3.
ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง
ข้อจำกัด
1.
มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน
4.
การบูรณาการแบบข้ามวิชา (Transdisciplinary) การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ จะมาร่วมกันสอนเป็นคณะ
ร่วมกันวางแผน กำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
ข้อดี
1. สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม
2.
ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน
3.
ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง
ข้อจำกัด
1.
มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน
2. ผู้สอนต้องควบคุมการเรียนให้ทันตามกำหนด
ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ว่าเป็นการเชื่อมโยงวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ
เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น
ได้แก่
1.
บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ
มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า
ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ
ที่เหมาะสม
2.
บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย
ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม
ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้
ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3.
บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก
ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4.
บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5.
บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้
เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ
ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการ
เป็นส่วนที่สำคัญของหลักสูตรแบบบูรณาการ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีผู้เสนอแนวคิดไว้
ดังต่อไปนี้ สำลี รักสุทธิ และคณะ (2544 : 27-18)
ได้เสนอหลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการ ดังนี้
1.
จัดกิจกรรมที่ใช้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคม และ
อารมณ์
2.
ยึดการบูรณาการวิชาเป็นสำคัญ โดยการบูรณาการทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือระหว่าง
วิชาเชื่อมโยงหรือบูรณาการเข้าด้วยกันให้เป็นความรู้แบบองค์รวม
3.
ยึดกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม
ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
4.
ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นสำคัญ
5.
เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานโดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึง
กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิผลของงานด้วย
6.
เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและ
การติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
7.
เน้นการเรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย 8. เน้นการเป็นคนดีและมีคุณค่า
ต่อสังคม ประเทศชาติ เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งหรือ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
ส่วนอรทัย
มูลคำ และคณะ (2542 : 13) ได้เสนอหลักในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการ
ได้แก่
1.
จัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการ
เรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น
2.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานกลุ่มด้วยตนเอง โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่ม
ลักษณะต่างๆ หลากหลายในการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือทำ
3.
จัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเข้าใจง่ายตรง กับความจริง
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีเหตุผล
4.
จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิดกล้าทำ
ส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตนเองต่อสาธารณะชนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
5.
เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม ให้ผู้เรียนสามารถ
วางแผนแยกแยะความถูกต้องดีงามและความเหมาะสมได้
สามารถขจัดความขัดแย้งได้ด้วยเหตุผล มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
และแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาและสามัคคี
แนวคิดเดียวกันนี้
วลัย
พาณิช ( 2544 : 167-169) ได้เสนอแนวทางการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการออกเป็น
2 ลักษณะ
1.
ลักษณะที่เป็นหัวเรื่อง (Theme) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1
การจัดการเรียนการสอนแบบจัดหน่วยบูรณาการ (Integrated Unit) ซึ่งจะต้องมี
เนื้อหาและกระบวนการ วิธีการ และเนื้อหาวิชาที่จะบูรณาการตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป
1.2
การจัดการเรียนการสอนแบบมีหัวเรื่อง (Theme) จะไม่มีการบูรณาการเชิง
เนื้อหาวิชา เรียกว่า เป็นการบูรณาการแบบหน่วยการเรียนหรือหน่วยรายวิชา 2.
ลักษณะที่เป็นโครงการ เป็นการสอนตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป ให้ผู้เรียนสามารถจัดในรูป
ของโครงการที่บูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา ความรู้จากหลายหลากวิชาในเรื่องเดียวกัน
มอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงการร่วมกัน ครูวางแผนการสอนร่วมกัน และกำหนดงานหรือโครงการร่วมกัน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการนั้น
จะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เน้นการสอนที่เป็นบูรณาการ (Integrative Teaching Styles) ซึ่งต้องมีวิธีการที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ผสมผสานกัน
ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยวิธีสืบสอบ (Inquiry) หรือใช้วิธีการแก้ปัญหา
(Problem Solving) เน้นการทำงานร่วมกัน
มีงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวผสมผสานกันไป
เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประสบการณ์จริง
ประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่ในขอบเขตสมรรถภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
จึงต้องพิจารณาขอบเขตการเรียงลำดับของเนื้อหาของลักษณะวิชารวมทั้งลักษณะของผู้เรียนด้วย
และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง
การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้
โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ
และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง
ๆ
เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้สอนจึงมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง
ๆ นำไปสู่การเรียน โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง รวมถึงการแนะนำแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนประการหนึ่ง
คือ
ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้นักเรียนทำงาน
โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มกันนั้นทำเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อผู้เรียนจะต้องทำงานร่วมกัน จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกลุ่ม
ไม่นั่งร่วมกลุ่มแต่ต่างคนต่างทำงานของตัวเอง
ซึ่งรูแบบการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนำไปใช้เป็นเทคนิค ในการจัดกิจกรรม คือ
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนรู้ร่วมกัน
(Cooperative Learning)
วิทยากร เชียงกูล
(2549)
ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ
4-5 คน โดยสมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแต่งต่างกัน
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง
คือ
ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต
สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความชำนาญ
ตัวอย่างวิธีการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ผู้สอนควรเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน ดำเนินการตามแผน และร่วมกันสรุปผลงาน
ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัด เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
1.
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดหนึ่งที่ตนเองสนใจ
2.
ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคำตอบด้วยตนเอง
โดยการคิดและปฏิบัติจริง
3.
วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.
นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
5.
มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบพอสมควร
6. คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือก วางแผน
และจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
สรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น
เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ
ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง
ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้
จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
2. Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง
ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning
Man) ที่พึงประสงค์
3. Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน
ครอบครัว องค์กรต่างๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า
“การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)”
4. Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด
ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด
คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น
การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น
แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี
เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
5. Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ
ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ ท้าทาย อยากค้นคว้า
อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
6. Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน
และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ
ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น
มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล
ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้
และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
8. Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม
เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย
ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
9. Self Evaluation เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง
เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว
แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น
รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
ตัวอย่างของรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
· การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning)
· การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน
(Research–based Learning)
· การเรียนแบบโครงงาน (Project-based
Learning)
· การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น
(Inquiry Instruction)
· การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative/Collaborative
Learning)
· การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI) หรือสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
· การใช้เครื่องมือทางปัญญา
(Cognitive Tools)
· เทคนิคการใช้ Concept
Mapping
· เทคนิคการใช้ Learning
Contracts
· เทคนิคบทบาทสมมติ (Role
Playing Model)
· เทคนิคหมวก 6 ใบ
· เทคนิคการเรียนการสอนแบบจิ๊กซอร์(Jigsaw)
ฯลฯ
การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา(2553 หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
มีลักษณะดังนี้ (อ้างถึงใน สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร )
1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน มีการบูรณาการดังนี้
1.1 กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์ โดยอาจารย์มีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และงานวิจัยย่อย
ๆ โดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อย
ๆ และมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่ ให้คำแนะนำปรึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
1.2 กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์
ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัย โดยมีอาจารย์ควบคุมการ ดำเนินงานเป็นระยะ
ๆ
1.3 กรณีที่นักศึกษาทุกระดับ ปริญญาตรี โท และเอก เข้าฟังการบรรยายหรือสัมมนา เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์คือ เข้าร่วมการจัดการแสดงงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ
1.4 จัดให้มีการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา
หรือส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
1.5 การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่ง ของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง อาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอนและนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน
2. การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม การบริการวิชาการหมายถึง กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับบุคคลภายนอก
ประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้ ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร ในการบูรณาการวิชาการ แก่สังคม สามารถดำเนินการได้ดังนี้
2.1
การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติ และมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรม
2.2
การบูรณาการงานการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือการนำความรู้ และประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
3. การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน สถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน คือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน

การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ
นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอ แนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสนองของไทยมาตลอด ในหนังสือนี้ได้ประมวลแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอ ได้แก่
1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
2. กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สมุน อมรวิวัฒน์
3. กระบวนการทางปัญญา โดยประเวศ วะสี
4. กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
5. กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
6. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
8. กระบวนการต่าง ๆ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
8.1 ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
8.9 กระบวนการกลุ่ม
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
8.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
สาโรช บัวศรี (2526)
มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า 20ปีมาแล้ว โดยการประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มาใช้เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา โดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่า “กิจในอริยสัจ 4 ” อันประกอบด้วยปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ) สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ)
2. กระบวนการกัลยณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
สุมน อมรวิวัฒน์ (2524 : 196 - 199) ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สาขาการศึกษาคณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตรไว้ว่า เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ 1. ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2. ชี้สุขเกษมศานติ์
กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน 8 ขั้นด้วยกันดังนี้
2.1 หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม
7 ได้แก่ การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรัก เป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้ มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
2.2 การกำหนดและจับประเด็นปัญหา
(ขั้นทุกข์)
2.3 การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
2.4 การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญญา (ขั้นสมุทัย)
2.5 การกำหนดจุดหมาย หรือสภาวะพ้นปัญญา (ขั้นนิโรธ)
2.6 การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้การแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.7 การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.8 การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง (ขั้นมรรค)
3.
กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี
ประเวศ วะสี (2542) นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย ผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญา ซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียน ประกอบด้วยขั้นตอน 10 ขั้น ดังนี้
3.1 ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่าง
ๆ ให้มาก ให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3.2 ฝึกบันทึก ให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่าง ๆ และจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
3.3 ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม เมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตหรือทำอะไร หรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
3.4 ฝึกการฟัง การฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มาก ผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
3.5 ฝึกปุจฉา – วิสัชนา ให้ผู้เรียนฝึกการถาม – การตอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้ง ในเรื่องที่ศึกษา รวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล การวิเคราะห์และการสังเคราะห์
3.6 ฝึกการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม
3.7 ฝึกการค้นหาคำตอบ
3.8 ฝึกการวิจัย
3.9 ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ
3.10 ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ
4.
กระบวนการคิดโดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2542 : 4 - 5) นักรัฐศาสตร์ และราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจิงจัง ลักษณะของนักคิดทั้ง 4 แบบดังนี้
4.1 การคิดแบบนักวิเคราะห์ (analytical)
4.2 การคิดแบบรวบยอด (conceptual)
4.3 การคิดแบบโครงสร้าง (structural thinking)
4.4 การคิดแบบผู้นำสังคม (social thinking )
5. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ด้านคือ
5.1 มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด
5.2 มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคล ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิด
5.3 มิติด้านทักษะการคิด หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด
5.4 มิติด้านลักษณะการคิด
5.5 มิติด้านกระบวนการคิด
5.6 มิติด้านการครบคุมและประเมินการคิดของตน
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
3. สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิด ทั้งทางด้านกว้าง ทางลึก และไกล
4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
5. สามารถประเมินข้อมูลได้
6.สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล และเสนอคำตอบ/ทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้
7. สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
6. กระบวนการคิดโดย
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2542 ข : 3 - 4) ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนาต่อไปได้โดยไม่เสียเปรียบ ไม่ถูกหลอกง่าย และสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย “คิดเป็น” คือรู้จักวิธีการคิดที่ถูกต้อง และท่านได้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิด 10 มิติ ดั้งนี้
มิติที่ 1 ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์
มิติที่ 2 ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์
มิติที่ 3 ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์
มิติที่ 4 ความสามารถในเชิงเปรียบเทียบ
มิติที่ 5 ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์
มิติที่ 6 ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์
มิติที่ 8 ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์
มิติที่ 9 ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ
มิติที่ 10 ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต
7.
กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2532) นักวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่า ควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม และดำเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
7.1 กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
7.2 เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
7.3 ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
7.4 แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
7.5 ฝึกพฤติกรรม โดยมีผลสำเร็จ
7.6 เพิ่มระดับความขัดแย้ง
7.7 ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
7.8 กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตนเอง
8.
การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอน 12
กระบวนการด้วยกัน ดังนี้ (กรมวิชาการ 2534)
8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
8.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2534)
ได้ให้ความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการไว้ ว่า เป็นการสอนที่
ก.
สอนให้ผู้เรียนสามารถทําตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนําไปใช้ได้
จริงในสถานการณ์ใหม่ๆ
ข. สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะ
สามารถนําไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ การสอนกระบวนการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. ครูมีความเข้าใจและใช้กระบวนการนั้นอยู่
2. ครูนําผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่างๆ
ของกระบวนการทีละขั้นอย่างเข้าใจครบถ้วนครบวงจร
3. ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ขั้นตอนของกระบวนการนั้น
4. ผู้เรียนนํากระบวนการนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
5. ผู้เรียนใช้กระบวนการนั้นในชีวิตประจําวันจนเป็นนิสัย
จะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้ผู้สอนจะต้องเป็นผู้วางแผน
นําให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการ เรียนรู้จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น
กระบวนการที่ใช้จะเป็นกระบวนการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับ
จุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสําคัญ
8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
1. ตระหนักในปัญหาและความจําเป็น
ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจะเป็นของ
เรื่องที่ศึกษา หรือเห็นประโยชน์และความสําคัญของการศึกษาเรื่องนั้นๆ
โดยครูอาจนําเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง
หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบ
เช่น รูปภาพ วิดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคําถาม
ทําแบบฝึกหัด และให้โอกาส ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
3. สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย
โดยร่วมกันคิดเสมอ ทางเลือก และอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
4. ประเมินและเลือกทางเลือก
ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาและร่วมกันสร้างเกณฑ์โดย
คํานึงถึงปัจจัย วิธีดำเนินการ ผลผลิต ข้อจํากัด ความเหมาะสม กาลเทศะ
เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนว ทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมอง อภิปราย
ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฯลฯ
5. กําหนดและลําดับขั้นตอนการปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนวางแผนในการทํางานของตนเองหรือหลุ่มโดยอาจใช้สําคับขั้นการ
คําเนินงานดังนี้
5.1 ศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
5.2 กําหนดวัตถุประสงค์
5.3 กําหนดขั้นตอนการทํางาน
5.4 กําหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทําร่วมกันเป็นกลุ่ม)
5.5 กําหนดระยะเวลาการทํางาน
5.6 กําหนดวิธีการประเมิน
6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ด้วยความสมัครใจ
ตั้งใจมีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทํางาน
7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนสํารวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถามอภิปรายแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนงานที่กําหนดไว้
โดยสรุปผลการ ทํางานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทํางานขั้นต่อไป
8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ผู้เรียนนําผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางาน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
ผู้เรียนสรุปผลการดําเนินงาน
โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กําหนด ได้อื่นๆ
ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
1. สังเกต
ให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูล และศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ
โดยใช้สื่อประกอบเพื่อกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดข้อกําหนดเฉพาะด้วยตนเอง
2. จําแนกความแตกต่าง
ให้ผู้เรียนบอกถึงความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
3. หาลักษณะร่วม
3. หาลักษณะร่วม
ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่รับรู้
และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คําจํากัดความ หรือนิยาม
4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด
ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
5. ทดสอบและนําไปใช้
ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทําแบบฝึกหัด ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
ความจํา จนถึงขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวคิดของ บลูม (Bloom) หรือแนวความคิด
ของกานเย่ (Gagne) ซึ่งเริ่มจากการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาจนเชื่อมโยงเป็นความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์
และนํากฎเกณฑ์ไปใช้ผู้สอน ควรพยายามใช้เทคนิคต่อไปนี้
ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้เป็นขั้นๆ อาจจะเลือกใช้
เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แต่ความพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่าน ขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสังเกต
ให้ผู้เรียนทํากิจกรรมรับรู้แบบปรนัยให้เกิดความเข้าใจ
ได้ความคิดรวบยอด เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสําคัญครบถ้วน
ตรงตามหลักฐานข้อมูล
2. อธิบาย
ให้ผู้เรียนตอบคําถาม
แสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กําหนด เน้นการใช้เหตุผล
ด้วยหลักการ กฏเกณฑ์และอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. รับฟัง
ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น คําวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อความคิดของ โต้ตอบ
และแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหe. โดยไม่ใช้อารมณ์
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และความคล้ายคลึงของสิ่งต่าง ๆ
กลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงสาเหตุและผล
หากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยง อุปมาอุปไมย
5. วิจารณ์
จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คํากล่าว แนวคิด หรือการกระทํา
แล้วให้ จุดเด่น จุดด้อย ส่วนดี - ส่วนเสีย ส่วนสําคัญ ไม่สําคัญจากสิ่งนั้น
ด้วยการยกเหตุผลหลักการมาปล การวิจารณ์
6. สรุป
จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทําหรือข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อมโยง
เกี่ยวข้องกัน แล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด
1. สังเกต
ให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูล รับรู้และทําความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป และ
ตระหนักในปัญหานั้น
2. วิเคราะห์
ให้ผู้เรียนได้อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ
สาเหตุ และลําดับความสําคัญของปัญหา
3. สร้างทางเลือก
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายซึ่งอาจมีการทดลอง
ค้นคว้า ตรวจสอบ
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทํากิจกรรมกลุ่มและควรมีการกําหนดหน้าที่ในการทํางาน
ให้แก่ผู้เรียนด้วย
4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนงานและบันทึกการปฏิบัติงาน
เพื่อรายงานและตรวจสอบความ ถูกต้องของทางเลือก
5. สรุป
ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจจัดทําในรูปของรายงาน
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสนใจ
เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคุณค่า หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ขั้นตอนการ
ในปรากฏการณ์
หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิด ดําเนินการมีดังนี้
1.สังเกต
ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่ และเห็นคุณค่า
2. วิจารณ์
ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง
เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หาสาเหตุและ ผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว
3. สรุป
ให้อภิปรายหาข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนักและ
วางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะ
มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกตรับรู้
ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวบยอด
2. ทําตามแบบ
ทําตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอน
จากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขึ้น
3. ทําเองโดยไม่มีแบบ
เป็นการให้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
4. ฝึกให้ชํานาญ
ให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชํานาญหรือทําได้โดยอัตโนมัติ
ซึ่งอาจเป็น งานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
กระบวนการนี้มี 2 วิธีการ คือ
สอนทักษะทางคิดคํานวณและทักษะแก้ปัญหาโจทย์ การสอน ทักษะการคิดคํานวณมีขั้นตอนย่อย
คือ สร้างความคิดรวบยอดของคํา นิยามศัพท์ สอนกฏโดยวิธีอุปนัย (สอน
จากตัวอย่างไปสู่กฏเกณฑ์ใหม่) ฝึกการวินิจฉัย ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ส่วนการสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์
มีขั้นตอนย่อยคือ แปล โจทย์ในเชิงภาษา หาวิธีแก้ปัญหา โจทย์ วางแผน
ปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคําถาม
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้
1. ทําความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ รูปแบบเครื่องหมาย
ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคํา กลุ่มคํา
ประโยคและถ้อยคําสํานวนต่างๆ
2. สร้างความคิดรวบยอด
ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นํามาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับ
สิ่งที่เรียนด้วยตนเอง
3. สื่อความหมาย ความคิด
ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้
4. พัฒนาความสามารถ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจํา ความเข้าใจ
การนําไปใช้ การ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
8.9 กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทํางานร่วมกัน
โดยเน้นกิจกรรมดังนี้
1. มีผู้นํากลุ่ม ซึ่งอาจผลัดเปลี่ยนกัน
2. วางแผนกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ
5. ติดตามผลการปฏิบัติ และปรับปรุง
6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่แทรกได้กับทุกเนื้อหา
เน้นความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มที่เรียน อาจเป็นความคิด หลักการ การกระทํา เหตุการณ์
สถานการณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต
ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์
การกระทําที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจตคติ
2. วิเคราะห์
ผู้เรียนพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา
แยกเป็นการกระทําที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่า พอใจ
และการกระทําที่ไม่เหมาะสมได้ผลที่ไม่น่าพอใจ
3. สรุป
ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเกิดการยอมรับและเห็น
คุณค่าของค่านิยมด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
ผู้เรียนพิจารณาการกระทําที่เหมาะสมและการกระทําที่ไม่เหมาสม
รับรู้ความหมาย จําแนกการกระทําที่แตกต่างกันได้
2. ประเมินเชิงเหตุผล
ผู้เรียนใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มแสดงความคิดเห็น
วิเคราะห์วิจารณ์การกระทํา ของตัวละคร หรือบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ
ว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
3. กําหนดค่านิยม
ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความเชื่อ ความพอใจในการกระทําที่ควรกระทําในสถานการณ์
ต่างๆ พร้อมเหตุผล
4. วางแผนปฏิบัติ
ผู้เรียนช่วยกันกําหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมีครูร่วมรับทราบกติกา
การกระทํา และสํารวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อกระทําดีแล้ว เช่น
การได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ
5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ครูให้การเสริมแรงระหว่างการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชม
ยินดี
8.12 กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการนี้ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อสร้างความคิดรวบยอด ตั้งคําถาม
ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล
เพื่อทําความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และกําหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคําตอบ
ต่อไป
คําตอบมาวางแผนเพื่อกําหนด
2. วางแผนปฏิบัติ
ผู้เรียนนําวัตถุประสงค์
หรือคําถามที่ทุกคนสนใจจะหาคําตอบมาวาง แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
3. ลงมือปฏิบัติ
ครูกําหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อยๆ
ได้แสวงหาคําตอบจากแหล่งความรู้ด้วย เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่
หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ฯลฯ ตามแผนงานที่วางไว้
4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
ผู้เรียนนําความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความ
ตีความ ขยาน นําไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
5. สรุป
ผู้เรียนรวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุด
จะเห็นได้ว่า กระบวนการรวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ
ดังได้เสนอไปแล้วข้างต้น มีจํานวนและความหลากหลายพอสมควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
ยังมีอีกเป็นจํานวนมาก ผู้สอนจึงพึง
ตระหนักว่าศาสตร์ทางการสอนได้ให้แนวคิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างหลากหลาย
พอสมควร หากผู้สอนรู้จักแสวงหา ศึกษาเรียนรู้ และนําไปทดลองใช้
จะสามารถช่วยให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพ มีชีวิตชีวา และมีความหลากหลาย
ไม่จําเจอยู่กับวิธีการหรือกระบวนการเพียงไม่กี่วิธีซึ่งอาจทํา
ให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
สรุป
การบูรณาการเป็นการนําศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้า ด้วยกัน เนื้อหาวิชาต่างๆที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนํามาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เรียนรู้อย่างมี ความหมายลดความซ้ําซ้อนเชิงเนื้อหาวิชาแนวคิดสําคัญที่ผู้สอนจะนํามาใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรม กระตุ้นให้ผู้เรียนได้นําข้อมูลหลากหลายที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงก็คือแนวคิดเกี่ยวกับ “การบูรณาการ” เหตุที่ต้องจัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนคือในชีวิตของคนเรามี ผ่องราวต่างๆที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเรื่องๆเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง ภาวะเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างออกไปผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเปิด โอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น