บทที่ 8
การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment)
การประเมินอิงมาตรฐาน Standard Based Assessment
หลักสูตรอิงมาตรฐาน
(Standards-based
curriculum)
หมายถึง
หลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรตลอดแนวตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา
ตลอดจนถึงระดับชั้นเรียน จะมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน คือ
ยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้าง
เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กล่าวโดยรวมก็คือ การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum) การเรียนการสอนอิงมาตรฐาน (Standards-based instruction) และการประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards-based assessment)
S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard
Based Assessment) การประเมินอิงมาตรฐานการประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการมีความสำคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียนมาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการเรียนการสอนที่ประสบผลดีที่สุดสำหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุดและผู้สอนการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่าการสอนตอบสนองต่อมาตรฐานเพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคำถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐานดังนี้
ใครกำลังสอนมาตรฐานใดเพื่อตอบคำถามว่าใครสอนไม่ได้ทานอะไรไม่ใช่ใครสอนหัวข้อใด
ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง วิธีใด เพื่อตอบคำถามว่าใครประเมินมาตรฐานใดโดยวิธีใด
การนำมาตรฐานมาใช้เพื่อกำหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานในการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลยเมื่อมีข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนํามาใช้ในการสอนและการประเมินผลแล้วก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและประเมินผลอะไรในระดับชั้นใดและวิชาใดโดยวิธีใดสามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานให้นำมาใช้ในการสอนและการประเมินผลอย่างไรการเริ่มต้นด้วยมาตรฐานในการสอนและการประเมินผลที่ใช้อยู่ในชั้นเรียนหรือรายวิชานั้นๆเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดจากนั้นจึงเคลื่อนไปสู่มาตรฐานที่ยังไม่ได้สอนหรือการประเมินผลต่อไปและขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทบทวนเพื่อตัดสินใจตอบคำถามดังต่อไปนี้
แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้างมีสิ่งใดบ้างที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
สอนย้ำแต่ละมาตรฐานบ่อยๆมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกขึ้นหรือไม่
มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมาตรฐานทำให้เกิดโครงสร้างซึ่งนำไปสู่การสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้มาตรฐานระดับชาติและระดับท้องถิ่นเป็นแหล่งวิทยาการที่สำคัญสำหรับผู้สอนคำถามที่ผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญคือ
มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่
การนำเสนอมาตรฐานอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์และผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่
เราจะนำมาตรฐานไปใช้ในชั้นเรียนและโรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างไร
การประเมินผลและการนิเทศ
Carr,ludy F and Harris,
Douglas E. (2001:153)กล่าวสรุปไว้ว่า
การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศและการประเมินผลมีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐานและได้นำเสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน
7 ประการดังนี้
หลักการที่ 1 ประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอนการพัฒนาวิชาชีพตามระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานมีคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานดังต่อไปนี้
ใครจะรับผิดชอบมาตรฐานใด
แนวทางการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไรในชั้นเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างไร
ระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ตั้งไว้เท่าใดใช้เกณฑ์ใดในการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของมาตรฐานและจะประเมินมาตรฐานอย่างไร
ใช้ข้อมูลใดบ่งบอกว่าบรรลุมาตรฐานและอะไรบ้างที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน
หลักการที่ 2
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตนเองเป้าหมายของการวางแผนการสอนมีขอบข่ายเนื้อหาที่จะปรับปรุงผลการเรียนรู้ผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยเชื่อมโยงลำดับความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพกับแผนการสอนกรณีตัวอย่างสถานศึกษากำหนดแผนการพัฒนาประกอบด้วยประเด็นหลัก
3
ประเด็นคือการวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนและการจัดทำแฟ้มสะสมงานการพัฒนาวิธีการวัดผลหลังจบหลักสูตรในแต่ละประเด็นเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้สอนในด้านการสอนและประเมินการแก้ปัญหาโดยเปิดโอกาสให้จัดทำแผนพัฒนาวิชาชีพระยะยาว
หลักการที่ 3
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแบบกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียนการสร้างตัวแบบเริ่มโดยเน้นที่มาตรฐานโดยคาดหวังว่าผู้สอนจะต้องสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำหนดโครงการพัฒนาวิชาชีพจึงต้องยึดมาตรฐานตัวอย่างเช่น การใช้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครู
ครูต้องร่วมกันวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนทบทวนสิ่งที่นำไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนรวมทั้งศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระและวิธีการสอนตามความต้องการของนักเรียนสิ่งต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในชั้นเรียนที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
หลักการที่ 4
ประสบการพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้หลักการสำคัญของยุโรปที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ดังนี้
มาตรฐานเน้นการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคนและทุกวัย
ผู้เรียนทุกคนสรรค์สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆได้
ผู้เรียนเรียนรู้จากผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยการค้นคว้าและการฝึกคิดทบทวน
การประเมินผล ก็ให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
หลักการที่ 5
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำกล่าวคือครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานบทบาทผู้นำอย่างเป็นทางการของครูคือบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาครูควรเป็นผู้ตัดสินใจในการคัดเลือกทีมงานวางแผนการสอนคัดเลือกเนื้อหาโดยเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครูควรเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานกำหนดกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลวิเคราะห์ผลงานของนักเรียน
หลักการที่ 6 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานการศึกษาอื่นการเชื่อมโยงด้วยมาตรฐานคือวิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบฉะนั้นองค์ประกอบและการตัดสินใจล้วนส่งผลต่อส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
หลักการที่ 7
ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียนความมีประสิทธิผลรวมถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนทุกคนและความเสมอภาค(ลดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียน)
หรือทั้งสองอย่าง ผลการวางแผนการสอนจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงโดยใช้ผลการเรียนรู้ของนักเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผล จะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบการติดตามและประเมินผล
นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ดำเนินโครงการทราบว่าโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์
เป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ดำเนินการประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพหรือไม่
ผลจากการติดตามและประเมินผล จะให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ จุดแข็ง
จุดอ่อน และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน ช่วยให้การบริหารแผนงานและโครงการมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
ระบบการติดตามและประเมินผลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบริการแผนงานและโครงการ
เพราะในวงจรบริหารแผนงานและโครงการ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) การควบคุม (Control) และการประเมินผล (Evaluation) ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใด
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดขาดประสิทธิภาพก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารแผนงานและโครงการทั้งหมด
ความหมายของการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผล มีคำซึ่งมีความหมายเฉพาะตัวที่แยกจากกันได้ชัดเจน แต่ในการดำเนินงานหรือจัดกิจกรรมแล้วมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด จนทำให้เกิดความสับสนอยู่เสมอ คือ คำว่า ติดตาม (Monitoring) และคำว่า ประเมินผล (Evaluation) ทั้งสองคำดังกล่าวมีวิธีทำงานที่แตกต่างกัน คือ การติดตาม
เป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะต่างจากการประเมินผลดังนี้
1. การติดตาม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฏิบัติงานตามแผน ซึ่งมีการกำหนดไว้แล้ว เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ แก้ไข ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน
หรือกำหนดวิธีการดำเนินงานให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น
จุดเน้นที่สำคัญของการติดตาม คือ การปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม
กำกับ การปฏิบัติงานของโครงการ
2. การประเมินผล เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ
3. การติดตาม จะเกิดขึ้นในขณะที่โครงการกำลังดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้
ส่วนการประเมินจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการ
นับตั้งแต่ก่อนตัดสินใจจัดทำโครงการ ในขณะดำเนินงานในช่วงระยะต่าง ๆ
และเมื่อโครงการดำเนินงานเสร็จแล้ว
หรือประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
4. การประเมินผล บางมิตินำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จของโครงการ การว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้หรือไม่ มีปัญหา
อุปสรรคอะไรบ้าง
5. ความแตกต่างและส่วนที่ซ้ำซ้อนกันของการติดตามและประเมินผล คือ
การติดตาม (Monitoring) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า
ได้มีการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการที่กำหนดได้อย่างไร
ข้อมูลที่ได้จะนำมาประกอบเป็นเครื่องมือ ควบคุม กำกับ
การดำเนินงานในขณะปฏิบัติโครงการโดยตรง ทั้งในด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และด้านผลผลิต
(Output)สำหรับ การประเมินผล (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง ขึ้นอยู่ว่าจะประเมินในขั้นตอนใดของโครงการ เช่น
ก่อนเริ่มโครงการ ขณะดำเนินโครงการซึ่งอาจดำเนินการเป็นช่วง เป็นระยะต่าง ๆ เช่น
ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน ทุกปี ประเมินเมื่อโครงการดำเนินงานไประยะครึ่งโครงการ
เป็นต้น หรือเป็นการประเมินผลเมื่อโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน ( How to use Standard in the classroom)
การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญการเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับขั้นพื้นฐานการเรียนรู้และท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและครู Harris,
Douglas E and Carr,ludy (1996 : 18)
ได้นำเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังแผนภาพประกอบที่
11
จากแผนภาพประกอบที่
11 สรุปได้ว่า
กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึงประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
หลักสูตรและการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียนสะท้อนถึงมาตรฐานที่กำหนดในกรอบหลักสูตรมลรัฐ
กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนเชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ม
1
หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาในขณะเดียวกันก็ต้องสนองต่อความต้องการสนใจของนักเรียนและชุมชนด้วยเหตุผลดังกล่าวกิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนจึงควรสร้างจากแหล่งข้อมูลของท้องถิ่นหรือเหตุการณ์ประเด็นปัญหาต่างๆในท้องถิ่นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียนท้องถิ่นและมลรัฐควรใช้ข้อมูลจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะบอกได้อย่างดีว่าผลการเรียนของนักเรียนถึงมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานสู่ความสำเร็จ
: หลักสูตร การประเมินผล และแผนปฏิบัติการ
เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องใช้มาตรฐานใดแล้วทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ามาตรฐานของโรงเรียนคืออะไรและจะนำไปใช้อย่างไรคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนการประเมินที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญคือการประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานการได้ข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลนักเรียนจะบรรลุตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์นั้นจะต้องเตรียมวิธีปฏิบัติกระบวนการและหลักสูตรการเรียนการสอนต่างๆให้พร้อม
การตัดสินใจว่าจะสอนและประเมินมาตรฐานใด
จะสอนมาตรฐานดังกล่าวในระดับชั้นใดรายวิชาใดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ฐานข้อมูลว่าใครจะสอนและประเมินมาตรฐานใด
และจำเป็นต้องมีการทบทวนแผนว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่จุดเน้นของหลักสูตรสถานศึกษาเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดหมายคำถามเดิมที่ว่าใครสอนหัวข้อใดหรือครูจะใช้สื่อการสอนอะไรจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นใครสอนมาตรฐานอะไรการเรียนการสอนใช้รูปแบบใดและใครเป็นผู้ประเมินมาตรฐานโดยวิธีการใด
เป็นต้น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน Carr,ludy F and
Harris, Douglas E. (2001:45 -
49)เสนอคำถามที่เกี่ยวข้องคือจะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไรซึ่งการประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบการวัดหรือการให้คะแนนการประเมินเป็นตัวการของการสอนเป็นกระบวนการของการวัดปริมาณ
การอธิบายการรวบรวมข้อมูลหรือการให้ผลย้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการประเมินชั้นเรียนโดยใช้มาตรฐานเป็นฐานคือบอกให้รู้เกี่ยวกับการสอนและการปรับปรุงการเรียนรู้ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินยาสะท้อนสิ่งต่างๆดังนี้
ให้แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการศึกษา
เห็นความสำคัญของนักเรียนแต่ละคนหลักสูตรเฉพาะและการปฏิบัติในสถานศึกษา
ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้และทักษะแบบบูรณาการตลอดหลักสูตรหรือไม่
เสนอวิธีการและข้อมูลเพื่อสื่อถึงผลการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินประสิทธิผลของชั้นเรียนต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในขณะนั้นรวมทั้งมีลักษณะรวบยอดตรวจสอบผลลัพธ์ได้จากหลักสูตรเดียวกันหรือข้ามหลักสูตร
มีลักษณะหลากหลายเชื่อถือได้เชิงเทคนิค
การวางแผนการประเมินต้องมองในมุมกว้างแผนการประเมินคือเครื่องมือออกแบบเป็นชุดของตัวเลือกที่คำนึงถึงเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการประเมินให้สัมพันธ์กับมาตรฐานได้อย่างไรการใช้แผนการประเมินนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า
จากการนำผลการประเมินไปใช้จะชี้แนะกระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเรียนการสอน
นักเรียนมีโอกาสหลากหลายที่จะแสดงผลสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
นักเรียนให้คำตอบที่สร้างสรรค์ได้หลายแบบเช่นผลงานและการปฏิบัติ
แนวการให้คะแนนแบบต่างๆใช้เพื่อกำหนดผลป้อนกลับด้านการเรียนรู้ของนักเรียน
การประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ. 2542
มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าทำการคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับอุดมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้อมีดังต่อไปนี้
1 การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียนที่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและความจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย Aun เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนซึ่งระบบประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียนเป็นกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทางทิศเดียวกันการรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนำมากำหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ ASEAN
University Network Quality Assurance:AUN-QA โดยมีเกณฑ์พิจารณา 11 หมวดได้แก่
1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
2 ข้อกำหนดหลักสูตร
3 โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
4 แนวทางการสอนและการเรียนรู้
5 การประเมินผลนักศึกษา
6 คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
7 คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
8 คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
9 สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
10 การเพิ่มคุณภาพ
11 ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย Aun ได้มีเกมดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรโดยหลักสูตรที่มีความพร้อมมหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย Aun
qa ต่อไป
2 การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักทดสอบทางการศึกษากลุ่มวิชาการศึกษา 2545 ศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงกำหนดระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเอกสารการดำเนินงานตามระบบดังกล่าวได้แก่
1 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2 แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา
3 แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
4 แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5 แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
6 แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
7 แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา:กรอบแนวการดำเนินงานเขียนแสดงความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13
ภาพประกอบที่ 13 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มา (กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ 2545:3)
นิยามและความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม
ปณิธานและภารกิจของการจัด
การศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและ
ภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบั
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง
การมีระบบและกลไกในการ ควบคุม ตรวจสอบ
และประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่ กำหนด
เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนได้มั่นใจว่าสถาบันนั้นๆ
สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
การประกันคุณภาพการศึกษา (QUALITY ASSURANCE) หมายถึง การทำกิจกรรม หรือ
การปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (QUALITY
CONTROL) การตรวจสอบคุณภาพ (QUALITY AUDITING) และการประเมิน คุณภาพ (QUALITTY ASSESSMENT) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนี
ชี้วัด ระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ ของการจัดการศึกษา ประกอบด้วยการ
ประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย
หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล
หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ
ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก
หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ
โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฏเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็น
กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
การควบคุมคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบ
คุณภาพเพื่อกำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด
การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมี ระบบ
และกลไกควบคุมคุณภาพ และได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบ และกลไก ดังกล่าว
การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง
กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการ ดำเนินงานของสถาบันว่า
ส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้
องค์ประกอบคุณภาพ หมายถึง
ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลต่อ คุณภาพ การศึกษา
ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง
ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเป็นไป ตามเกณฑ์
และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
ผลผลิตทางการศึกษา หมายถึง ผลการดำเนินตามภารกิจหลัก ประกอบด้วย
การผลิต บัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการ
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภารกิจหลักอื่นๆของ สถาบันอุดมศึกษา
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่
ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม
และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
ประสิทธิภาพ หมายถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทรัพยากรที่ใช้ไปกับปริมาณผลผลิต ที่เกิดจากกระบวนการ
กล่าวคือ ประสิทธิภาพแสดงถึงความสามารถในการผลิต และความคุ้มค่า ของการลงทุน
ประสิทธิผล หมายถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของการทำงานกับเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้
กล่าวคือ ประสิทธิผลจะแสดงถึงความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
และทันเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิต
การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอกของผู้
ประเมินภายนอกที่มีคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่
สำนักงานกำหนด
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) หมายถึง
การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้โดยมีการควบคุมคุณภาพ
(Quality
Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต
ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา
เป็นกระบวนการวางแผนและกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตรและตรงตามความมุ่งหวังของสังคมเนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาจัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ
และคุณลักษณะต่างๆได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคลตอบสนองต่อความต้องการความสนใจและความถนัดที่แตกต่างกันและที่สำคัญคือทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาใดจะมีความมั่นใจได้ว่าสถาบันการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงเท่าเทียมกันไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นหรือฝากลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เป็นระบบที่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาให้ทัดเทียมกัน ดังนั้น
พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงยอมไม่ได้
ถ้าลูกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ในระดับต่างๆ
ดังนั้น ผู้ที่รับประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู
และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน
รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา กรมเจ้าสังกัด
และกระทรวงต้องมีการรับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกันการประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งได้ดังนี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
(Internal Quality Assurance) และ
การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (External Quality Assurance)
การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกคือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตามการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนสมศหรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรอง
โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสมศเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกมีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนดังต่อไปนี้
1
เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
2
เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความสามารถและมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
3
สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเรียนรู้เป้าหมายตามที่กำหนด
4
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนกำหนดหลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งมีหลักการสำคัญ
5 ประการดังต่อไปนี้
1 เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสินการจับผิดหรือการให้คุณให้โทษ
2
ยึดจากความเที่ยงตรงเป็นธรรมมีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
3
มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5
ทุ่มสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ.
2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นตามสภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินสภาพภายนอกมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน
2550)
1
เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพดีในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษาสาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
3 เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประเภทหนังสือภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4
เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5
เพื่อรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก
หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรองจากสมศให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา
คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมกำกับดูแลตรวจสอบประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
4 การประเมินคุณภาพภายใน
clark (2005:2)กล่าวว่า
การประเมินคุณค่าภายในโปรแกรมการเรียนการสอนวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดำเนินการถ้าประเมินเน้นที่กระบวนการประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นและนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไปในการประเมินจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนโดยกำหนดจุดมุ่งหมายคือการจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้หรือไม่ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการชั้นเรียนและพัฒนาผู้เรียนได้จริงถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนการสอนแก้ไขกันอาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเกรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงทีการประเมินนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน Kemp
: 1971เสนอแนะการประเมินไว้ดังนี้
1
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
2
ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
3 ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใดเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับของผู้สอนหรือไม่
4 กิจกรรมต่างๆเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5
วัสดุต่างๆสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งการหยิบการใช้หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6 ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอนกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
7
ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเองและข้อสอบหลังการเรียนแล้วใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนได้หรือไม่
8 ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้างเพื่อหารูปแบบและอื่นๆ
การประเมินภายนอก
clark
(2005:2) กล่าวว่าประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนผู้นำผลการประเมินเพื่อใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวมเป็นการประเมินที่ตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่การออกแบบการเรียนการสอนตลอดจนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป Kemp
:1971เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
1 จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
2
หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วการปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทักษะและการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3
การใช้วัสดุต่างๆง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมากๆหรือไม่
4 สิ่งอำนวยความสะดวกกำหนดการและการนิเทศมีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่มี
5 การระวังรักษาการหยิบการใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ หรือไม่
6 วัสดุต่างๆที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7
ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียนวิธีการสอนกิจกรรมและเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ซึ่งประเมินโดย “สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเรียกชื่อย่อว่า“สมศ.” พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545
ได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุกรอบ 5 ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย
และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
รูปแบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) ซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งใหมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสิน การจับผิด
หรือการให้คุณ –ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส
มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง(evidence– based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้(accountability)
3)
มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4)
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5)
มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ
โดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The
Solo taxonomy
The
Solo taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดง
คุณสมบัติในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียนเป็นชุดของเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นระบบนำมาช่วยอธิบายว่าผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อรวบรู้ที่มีความปฏิบัติเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้Solo
taxonomyในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
Solo taxonomyคือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือผู้จะมีวิธีการอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น
เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and
collis (1982)เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อร่วมหรือที่มีความหลากหลายของเข้าหน้างานทางวิชาการโดยมีนิยามจุดประสงค์ของหลักสูตรในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้Solo taxonomya จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียน
ตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น
แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา การประเมินความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน
ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งให้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว(Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลาย(Multi-structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
(Relational) และ (5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
(Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs and Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้
1 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
2 ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับดังนี้
· ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐานนักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วนส่วนที่ไม่ปะติดปะต่อกันไม่มีการจัดการข้อมูลและความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
· ระดับโครงสร้างเดี่ยวผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานง่ายต่อการเข้าใจแต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
· ระดับโครงสร้างหลากหลายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆชนิดเข้าด้วยกันความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
· ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
· ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาพขยายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO
Taxonomy คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
เพื่อความเข้าใจและการนำมโนทัศน์ SOLO Taxonomy ไปใช้
บิกส์ได้สรุปไว้ดังตาราง 25
ตารางที่ 25 ระดับความเข้าใจ ระยะของการเรียนรู้ และคำกิริยาที่ใช้
ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ Solo taxonomy
การปรับใช้ Solo taxonomy กับแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมายอาทิ
ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไรครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดจะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถและการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้สรุปได้ว่า
ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(ความมุ่งมั่น/เจตนา) (การเรียนรู้) (ผลผลิต)\
การทดสอบสมรรถนะ =>ILO’s
=>การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการILOในการบรรลุผลการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
Solo
taxonomy เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่างๆดังตัวอย่างต่อไปนี้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
Solo
4: การพูดอภิปรายสร้างทฤษฎีทำนายหรือพยากรณ์
Solo
3: อธิบายวิเคราะห์เปรียบเทียบ
Solo
2: บรรยายรวมกันจัดลำดับ
Solo
5: ท่องจำระบุคำนวณ
บทบาทของการสอบ
การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อนแนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพหรือผลผลิตของการสอนนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน(ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดการสอบคล้ายกับการปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้ายเป็นการสร้างแรงจูงใจและแนวทางในการเรียนรู้ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้การจัดการสอนของครูผู้สอน
การจัดลำดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม( bloom's
taxonomy 1956 ) เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด Solo
taxonomy ของBiggs and Collis 1982
Solo
1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้(จำ)ความเข้าใจและการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
Solo
3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่างการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
ระดับ Solo 1 หมายถึงการเรียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิมการเขียนแผนจะยึดตำราเป็นหลักธรรมแบบฝึกหัดตามหนังสือจัดกิจกรรมซ้ำๆใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปไม่มีการประเมินการใช้จริง
ระดับ Solo 2 หมายถึงการปรับประยุกต์ใช้การนำแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยคำนึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เน้นที่จะดีมากกว่าการปฏิบัติ
ระดับ Solo 3 หมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่การเขียนแผนที่คำนึงถึงพฤติกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การเขียนแผนแนวทางมหภาคใช้ผลงานการวิจัยประกอบการสอนเน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย 1.00 ถึง 1.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The
studies model ระดับต่ำ/ปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย 1.50 ถึง 2.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe
studies model ระดับปานกลาง/พอใช้
ค่าเฉลี่ย 2.50 ถึง 3.00 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe
studies model ระดับสูง/ดี
กระบวนการประกันคุณภาพภายใน
ระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง
ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด
ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการ
ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้
1. หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี 3 ประการคือ
- จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน
คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุง คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดย เป้าหมายสำคัญอยู่ที่
การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
- การที่จะดาเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายการประกันคุณภาพภายใน
ต้องทำให้การ
ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของ
บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติ
ของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน
ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความ
โปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน
- การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง
เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา
หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนด เป้าหมาย วางแผน
ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้
สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ
เป็นไปตามความต้องการของ ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ
2. กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ
มี 3 ขั้นตอนคือ
- การควบคุมคุณภาพ
เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
- การตรวจสอบคุณภาพ
เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร
(PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
- การร่วมกันวางแผน (Planning)
- การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
- การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
- การร่วมกันปรับปรุง (Action)
การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพก็คือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพตามหลักการบริหารนั่นเอง
โดยการควบคุมคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันวางแผนและดาเนินการตามแผน
เพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา
ส่วนการตรวจสอบคุณภาพ คือ
การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาเมื่อ
สถานศึกษามีการตรวจสอบตนเองแล้วหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษาและต้นสังกัดก็เข้ามาช่วยติดตามและ
ประเมินคุณภาพเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษา
ซึ่งจะทำให้สถานศึกษามีความอุ่นใจ และเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอยู่เสมอ
การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสานักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง
ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันการประเมินคุณภาพภายนอกจะ
นำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
อย่างแท้จริง
แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินภายนอกของ สมศ.
เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ “ กัลยาณมิตรประเมิน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อตรวจสอบ
ยืนยันสภาพจริงในการดาเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตาม
มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา
เงื่อนไขของความสำเร็จ และ สาเหตุของปัญหา
3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก
มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
ดังต่อไปนี้
1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่
คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ
และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น
คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการ
วางแผนและดาเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและ
บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสาคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของ
สถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการ
จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
การประเมินอิงมาตรฐานระดับที่มีความสำคัญที่สุดคือการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอน นั้นประสบผลสำเร็จโดยดูจากผู้เรียนมีความรู้และทักษะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้กล่าวได้ว่า โปรแกรมการเรียนการสอนมีประสิทธิผลระดับใดอีกประเด็นหนึ่งคือการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จํากัด กล่าวได้ว่าการจัดการ เรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพระดับใดการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินให้ ความสำคัญที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แลtปรับปรุงสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่าการ จัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนด ไว้หรือไม่ คำถามหลัก คือ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานหลังจากการเรียนการสอนได้หรือไม่ กระบวนการมี ขั้นตอนใดที่มีปัญหาอุปสรรค เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหารได้พัฒนาในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น