วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

การเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง– กรณีศึกษาห้องเรียนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง – กรณีศึกษาห้องเรียนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การเรียนรู้แบบบูรณาการสามารถพัฒนาครูและนักเรียนได้จาก
· การสะท้อนภาพให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้น โดยคำนึกถึงแง่มุมต่างๆในชีวิตและในโลกความเป็นจริง
· ท้าทายให้ผู้เรียนได้ใช้และพัฒนาทักษะการคิด ในขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้เพื่อเชื่องโยงให้เห็น ภาพรวม
·  เหมาะสมกับผู้เรียนหลากหลายรูปแบบและสามารถจัดการเรียนรู้ได้ตามความชื่นชอบของนักเรียน
· การจัดการหลักสูตรที่หนาแน่นขึ้นได้
· บรรลุผลลัพธ์จากเนื้อหา
·  ชีวิตประจำวันในโรงเรียนดูมีความ เข้าท่า” มากขึ้น เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ เชื่องโยงกันมากขึ้น
· การให้นักเรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตัวเองได้มากขึ้น
· สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ในโรงเรียนวางแผนและทำงานเป็นทีม
·  การจัดโครงสร้างเนื้อหาที่มีความสมเหตุสมผลสำหรับครูและการประเมินวัดผลของผลที่ได้รับกับพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย
· นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะและคุณค่าของความรู้จากเนื้อหาและประสบการณ์
· สร้างทักษะนักเรียนให้พัฒนาและตอบสนองกับประสบการณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย
·  เชื่องโยงวัตถุประสงค์กับกิจกรรมได้อย่างชัดเจนขึ้น
· การเกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ รู้สึกสนุกและสามารถสะท้อนภาพการเรียนการสอนได้
หัวใจสำคัญในการวางแผนการสอนตามแนวทางนี้คือการจัดความสัมพันธ์ที่เชื่องโยงระหว่างสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนกับ โลกรอบตัวเรา” (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม และสังคมศึกษา) และพื้นที่อื่นๆ ที่เรามีส่วนเกี่ยวข้องหรือโลกที่เราต้องเข้าใจ (ภาษา คณิตศาสตร์ ศิลปะ ละคร ดนตรี และแง่มุมของเทคโนโลยี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น