วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

ค้นคว้าเพิ่มเติมบทที่5


DIGITAL EDUCATION การศึกษาบนโลกดิจิทัล กับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
            ในยุคที่ทุกสิ่งเข้าสู่โลกของดิจิทัล (Digital) ทั้งเรื่องของแนวโน้มการตลาด สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือธุรกิจ ไปจนถึงภาครัฐฯ สำหรับส่วนของการศึกษาเองก็มีการตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศที่มากมายมาประยุกต์ใช้กับผู้เรียน เช่น นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาเช่นกัน
ตัวผมเองได้เข้าร่วมเครือข่ายของอาจารย์ ผ่านเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษา (ควอท.) หรือ Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education ที่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในเรื่องของการปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับ “นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน” ในนามของมหาวิทยาลัยร่วมกับอาจารย์ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายๆ สถาบันในประเทศไทย ทั้งศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทุกศาสตร์ต่างยอมรับว่า เทคโนโลยีด้านICT มีผลต่อการเรียนการสอนของอาจารย์ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียนในปัจจุบัน




ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
            เพราะในตอนนี้ผู้เรียน หรือนักเรียน นักศึกษา มีแนวโน้มที่เปลี่ยนไป เช่นกันกับผู้บริโภคในภาคการค้าและธุรกิจ เพียงแค่เปลี่ยนจากการซื้อ-ขาย หรือการทำโฆษณาออนไลน์  เป็นแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในการศึกษา หรือการเรียนรู้แทน อีกทั้งได้ข้อสรุปจากอาจารย์ และนักวิชาการส่วนใหญ่ระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms, Ken Robinson, 2006 )” โดยมีข้อมูลที่ถูกตกผลึก และพัฒนาออกมาในประเทศไทย โดยท่าน  ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช (หนังสือวิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21) ที่ตอกย้ำกับสายวิชาการในแง่ของแนวคิดที่ว่า สาระวิชาความรู้แม้จะมีความสำคัญ แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 เพราะปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject Matter) ส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้จากผู้เรียน หรือนักศึกษา โดยการค้นคว้าเองผ่านสารสนเทศจำนวนมหาศาลบนโลกอินเทอร์เน็ตที่เป็นสื่อหลักที่แซงหน้าหนังสือ และตำราไปแล้ว
            การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้ ครูหรืออาจารย์จะมีเพียงบทบาทในเชิงการช่วยแนะนำและออกแบบกิจกรรม ไปจนถึงการสร้างเงื่อนไขที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ ในรูปแบบการศึกษา และนวัตกรรมการสอนก็มีหลากหลายรูปแบบแยกย่อยออกไปตามคุณลักษณะของผู้เรียนหรือนักศึกษา อาจจะสรุปได้ว่า ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น จะต้องมีทักษะเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องทำการวิเคราะห์
ทักษะระดับพื้นฐานที่เคยมีมาก่อน
·                  Reading หรือทักษะการอ่าน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าถึงองค์ความรู้ หรือสารสนเทศ
·           Writing หรือทักษะการเขียนเพื่อเป็นการเริ่มต้นถึงทักษะของการถ่ายทอดและการสื่อสาร
·                  Arithmetics หรือทักษะการคำนวณ หรือการคิดเชิงคณิตศาสตร์-ตรรกะศาสตร์ เพื่อใช้ในการคิดแก้ปัญหาชีวิตประจำวันทักษะระดับมาตรฐานที่เกิดขึ้นในศตวรรตที่ 21
·                  Critical thinking & Problem Solving หรือทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาโดยอาศัยการเรียนรู้และสังเกตุ
·                  Creativity & Innovation หรือทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม
·                  Cross-Cultural Understanding ทักษะการเรียนรู้บนความเข้าใจด้านวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อสร้างระเบียบ
·                  Collaboration, Teamwork & Leadership ทักษะด้านการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
·                  Communications, Information & Media Literacy ทักษะด้านการสื่อสารและมีความรู้ในการสืบค้นสื่อ
·                  Computing & ICT literacy ทักษะด้านการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศรูปแบบดิจิทัล
·                  Career & Learning Skills ทักษะที่ตรงกับความชำนาญในการประกอบอาชีพและการพัฒนาการเรียนรู้ผสมเข้ากับการทำงาน
Blog สำหรับถ่ายทอดความรู้
เว็บไซต์ประเภท Knowledge Management หรือ Blog เกี่ยวกับวิชาต่างๆ ที่เขียนโดยอาจารย์ประจำวิชานั้น จำเป็นต้องถ่ายทอดขั้นตอนวิธีของการเรียนการสอน เช่น วิชาบรรยาย โดยเน้นให้เป็นการทบทวนต่อเนื่องจากบทเรียน เป็นไปได้ว่าแนะนำให้ผู้สอน หรืออาจารย์ทุกท่านควรมีBlog เป็นของตัวเอง และใช้เป็นเครื่องมือในการตลาดเชิงการศึกษากับผู้เรียน ผ่านการโปรโมต URL ของ Blog พร้อมบอกให้ไปทบทวนหลังการเรียนเสร็จสิ้นในชั่วโมง
เนื้อหาหรือตัวอย่างใน Blog ควรจะเป็นการสรุปหัวข้อสั้นๆ ตรงประเด็น และตัวอย่างที่มีการอธิบายการคิดที่เรียบง่าย โดยอาจจะอาศัยการใช้เทคนิคการนำกราฟิกรูปภาพ หรือ Infographic มานำเสนอให้เกิดความน่าสนใจ ส่วนรายวิชาที่เป็นการปฏิบัติหรือการใช้ทักษะ ผู้เขียน Blogหรืออาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องใช้รูปภาพในการนำเสนอ และคำอธิบายรูปภาพทั้งใต้ภาพ และเป็นกราฟิกภายในภาพ โดยใช้การเรียงลำดับขั้นตอน เช่น ขั้นตอนที่ 123 และลูกศรมาใช้นำทาง เป็นต้น
จากสถิติที่ได้ทำการเก็บข้อมูลมา ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตัวเนื้อหาของบทเรียนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเรียนการสอนในห้อง แล้วมีเนื้อหาทบทวนในBlog ที่ผู้สอนบอกให้ไปอ่านทบทวนทันที เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 เปอร์เซ็นต์ เพียงแค่การเตรียมความพร้อมในเนื้อหาของ Blog ต้องต่อเนื่องจากในชั่วโมงเรียนไม่เกิน 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน เพราะความต่อเนื่อง และความสนใจในเนื้อหาที่เกิดคำถามจะลดลง ถ้าระยะเวลาทบทวนของ Blogเกิน 48 ชั่วโมง
YouTube Channel ช่องทีวีออนไลน์เพื่อการศึกษา
แน่นอนว่า ถ้าผู้สอน หรืออาจารย์มี Blog เป็นของตนเองแล้ว บางเนื้อหาที่เป็นเชิงปฏิบัติ อาจจะใช้ลำดับรูปภาพอธิบายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้วิดีโอช่วยสอน ความแตกต่างของการที่อาจารย์ผู้สอนสร้าง Content บน YouTube นั้นคือ วิดีโอช่วยสอนบน YouTube นั่นคือการทบทวน และเป็น Tutorial ที่ต้องอธิบายทีละขั้นตอนอย่างกระชับ แต่ไม่เร็วเกินไป ที่สำคัญคือ จำไว้ว่า วิดีโอสำหรับทบทวนบน YouTube ของอาจารย์ผู้สอน ไม่ใช่การอัดบันทึกการเรียนย้อนหลัง แต่เป็นการบันทึกใหม่ในรูปแบบของขั้นตอนที่กระชับ และชัดเจน เป็นลำดับ
ข้อสังเกตสำหรับวิดีโอสื่อการสอนบน YouTube สำหรับผู้สอน หรืออาจารย์ที่ต้องสร้างขึ้นนั้น จะเหมาะกับรายวิชาที่เป็นการปฏิบัติ ส่วนวิชาบรรยายที่มีการถ่ายทอดการเรียนการสอนของตัวเองจะไม่ค่อยเกิดประสิทธิภาพเท่าไรนัก นอกเสียจากย่อประเด็นบรรยายให้เหลือ 2-5 นาที แล้วใส่เนื้อหาที่ตลกลงไปให้เกิดการรับรู้จดจำบทเรียนที่ต้องการเน้นย้ำ ซึ่งมันก็ยากเกินไปสำหรับผู้สอนคนหนึ่งจะจัดทำได้ทุกบทเรียนที่อย่างน้อยๆ ก็ 15 ครั้งต่อเทอม ถ้าไม่อยากเสียพลังงานเกินไป เลือกวิชาปฏิบัติเป็นวิดีโอ และเอาวิชาบรรยายไปเขียนลง Blog ดีกว่าครับ
โฮมรูม (HomeRoom) บน Facebook ไม่ใช่ LINE
อีกหนึ่งข้อมูลที่ผมได้ทำการเก็บรวบรวมมานั้นคือ การพบปะกันระหว่างอาจารย์ประจำวิชากับผู้เรียน หรือนักศึกษาในรายวิชาที่สอน ไปจนถึงนักศึกษาที่เป็นศิษย์ในที่ปรึกษา ช่องทางในการกระจายข่าว เอกสารการสอน หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ไปจนถึงการช่วยเหลือในการถ่ายทอดจากผู้เรียนที่เข้าใจการเรียน ไปยังผู้เรียนที่ไม่เข้าใจ หรือที่เรียกว่า การช่วยเหลือแบ่งปันกันนั้นเกิดบน Social Network สื่อสังคมออนไลน์อย่างFacebook Group มากที่สุด โดยสถิติที่ได้นั้นเป็นช่องทางในการกระจายตัวองค์ความรู้จากผู้เรียนถึงผู้เรียนด้วยกัน และอาจารย์ถึงผู้เรียน ให้เกิดการสื่อสารและเข้าใจสารสนเทศต่างๆ ได้สูงถึง 77.11 เปอร์เซ็นต์  บนเว็บไซต์ และ 59.55 เปอร์เซ็นต์  บนสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อสื่อสาร และกระจายความรู้ที่เปรียบเทียบกับ LINE ที่อยู่บนสมาร์ทโฟนอย่างเดียวบนสถิติ 33.45 เปอร์เซ็นต์
ทำให้เกิดข้อเท็จจริง และข้อสังเกตได้ว่า LINE เป็นแพลตฟอร์มการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมาะกับการศึกษา อันที่จริงอาจจะไม่เหมาะกับองค์กรภาคธุรกิจด้วยซ้ำไป หากใช้เป็นเครื่องมือหลัก LINE เป็นได้แค่เครื่องมือสำหรับเตือนและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เมื่อกลับมาในเรื่องของการศึกษา เหตุผลที่ Facebook Group เป็นช่องทางติดต่อของผู้สอน และผู้เรียนได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ในแง่ของความจำเป็น และคงอยู่ของข้อความที่ไม่ใช่ Information Over Load ที่มักจะเกิดบน LINE ที่คุ้ยหาข้อความสำคัญเก่าๆ ยากเสียเหลือเกิน
Google Classroom และ E-Classroom เปลี่ยนโลกของการศึกษาในศตวรรตที่ 21
อันที่จริงระบบ E-Classroom ตัวอื่นๆ ก็มีประโยชน์ เช่น ClassStart.org, Moodle, eClassroom, BlackBoard และอื่นๆ เป็นต้น ประสบการณ์ในการใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เพราะผมเองก็ใช้ ClassStart.org อยู่ เพียงแค่เครื่องมือที่หยิบมาคือ Google Classroom ในแง่ของภาพรวมการทำงานที่มีประโยชน์กับสถานศึกษาหลายๆ แห่ง ที่ผู้ใช้ไม่ต้องใช้ความพยายามในการเปลี่ยน (โดยเฉพาะอาจารย์รุ่นเก่าๆ) เพราะเมื่อเลือกใช้Google Classroom เมื่อไร เราจะได้ Blog คือ Google Site, Video & File Sharing คือ Google Drives, เอกสารประกอบการเรียนการสอน Google Docs, Slide, Sheets และระบบข้อสอบ และแบบฝึกหัดที่อยู่ใน Google Classroom ในตัวทันที พร้อม Social Network อย่าง Google+ ของตัวอาจารย์ หรือผู้สอนที่สามารถนำมาใช้เป็นช่องทางกระจายสื่อการสอน และบทเรียนได้อีกทาง
ผู้สอนหรืออาจารย์สามารถจัดการสื่อการเรียนการสอนหรือทบทวนบทเรียนไปจนการตรวจนับคะแนน และเกรดของผู้เรียนได้อย่างสะดวกผ่านระบบของ Google Classroom ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือเว็บไซต์ได้อย่างสบายๆ อีกทั้งยังสามารถเข้าไปเป็นผู้ร่วมสอนรายวิชาอื่นๆได้เพียงแค่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของวิชาให้เราเข้าไปร่วมสอน
เครื่องมือที่ว่ามาทั้งหมดนั้น เมื่อถูกนำมาจัดการอย่างเป็นระบบแล้ว เราจะเห็นว่าสื่อจะวิ่งเข้าหาผู้เรียนตามทักษะ Communications, Information & Media Literacy และ Computing & ICT literacy ทีนี้ก็อยู่ที่ว่า เมื่อสื่อและองค์ความรู้วิ่งเข้าหาผู้เรียนแล้ว ก็เป็นการใช้เครื่องมือสำหรับวัดผลตัวสุดท้าย อย่างแบบฝึกหัด Google Forms หรือ Assignments บน Google Classroom เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจผู้เรียนให้เกิดการแก้ปัญหาจากการเรียนรู้ ซึ่งต้องผสมผสานเจ้ากับการสอนแบบดั้งเดิม เพื่อสร้างทักษะสุดท้ายของผู้เรียนคือ Critical thinking & Problem Solving ทักษะการแก้ปัญหาเชิงประยุกต์



Digital Skill 6 ทักษะทางไอทีที่จำเป็นในยุค ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

            ในยุคปัจจุบันปัญหา เรื่องของการว่างงาน เริ่มเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บริษัทฯ และองค์กรต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนจากการสรรหา คน” ที่มีความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวเปลี่ยนเป็นการหา คน” ที่สามารถเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดกระบวนการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น หรือเรียกง่าย ๆ ว่าต้องมี Digital skill นั่นเอง
ดิจิทัล” มาแต่ ทักษะ” ไม่พร้อม
            ทราบกันดีว่าวันนี้เรื่องของการใช้เทคโนโลยี เข้ามาแทนที่ คน” (Human) เริ่มเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากขึ้น เนื่องจากมีความแม่นยำกว่า และมีความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยกว่าการใช้แรงงานคน ที่มักจะก่อให้เกิดความผิดพลาด จากความประมาท ไม่ละเอียดรอบคอบ ฯลฯ อีกหลายเหตุผล ที่ทำให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ไม่ต้องการใช้บริการทักษะของ คน
             ทุกอย่างจะถูกเปลี่ยนเพียงแค่ชั่วข้ามคืน เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะสามารถทดแทนความสามารถของ คน ได้ หลากหลาย แต่บางทักษะเทคโนโลยี ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้ อาทิ ทักษะที่ต้องอาศัยจินตนาการในการคิด และสร้างสรรค์ เป็นต้น




ทักษะ ไอที ยิ่งมี ยิ่งไปไกล
            การก้าวสู่การเป็น คน” ที่มคุณภาพ และเป็นที่ต้องการสังคมในยุคของดิจิทัล นี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนา ทักษะทางด้านไอที อย่างน้อย 6 ด้าน ด้วยกัน

ทักษะแรก
            คือ การยกระดับความสามารถใน การใช้เครื่องมือที่มีอยู่เทคโนโลยี” (Tools & Technologies) ต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถตามทันเทคโนโลยีได้ทันทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่อย่างน้อยสิ่งที่ต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเอง โดยอย่างน้อยต้องให้มีทักษะในด้านของความเข้าใจในพื้นฐานว่าเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น
            ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) ว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร ความสามารถของเทคโนโลยี และข้อจำกัดคืออะไรอย่างไร และมีความสามารถการทำงานร่วมกันกับเครื่องมือทางเทคโนโลยีอื่น ๆ (Collaboration Tools) ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วในยุคปัจจุบันกับเทคโนโลยีที่เราเรียกว่า อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์” (Internet of Things) หรือ ไอโอที นั่นเอง

ทักษะที่สอง
            คือ การค้นหา และใช้งาน” (Find & Use) ทักษะของการค้นหา และนำไปใช้งานนี้ ไม่ใช่แค่เพียงการเข้าค้นข้อมูลจาก กูเกิล” (Google)หรือ เสิร์ชเอนจิน” (Search Engine) ต่าง ๆ ได้เพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงทักษะความสามารถในการที่จะนำไปวิเคราะห์ และตัดสินใจ นำข้อมูล ที่มีอยู่มากมาย ในโลกอินเตอร์เน็ตมาใช้งานได้อย่างมีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ โดยเข้าใจถึงลิขสิทธิ์ของข้อมูล และการนำไปใช้ อีกด้วย

ทักษะที่สาม
            คือ การสอน และเรียนรู้” (Teach & Learn) ทักษะในด้านนี้ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถรู้ หรือเชี่ยวชาญเทคโนโลยีไปได้ทุกอย่าง จึงต้องจำเป็นต้องมีการแบ่งปันองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ กล่าวก็คือทั้งผู้เรียน และผู้สอน จำเป็นต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกต้องอยู่แล้วในระดับหนึ่ง

ซึ่งรวมไปถึงการใช้เครื่องมือในการนำเสนอ (Presentation Tools) ได้เป็นอย่างดี เพราะหากขาดความเข้าใจที่ดีแล้ว ก็นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แล้วยังอาจสร้างการเรียนรู้แบบผิด ๆ ไปเลยก็ได้ แต่แน่นอนว่าเราสามารถใช้หลักในการเปรียบเทียบ และประเมิน ทดลอง ผิดถูก จนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ซึ่งทักษะนี้ถือเป็นทักษะที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
            โดยเราสามารถเรียนรู้ได้จากหลากหลายช่องทาง เนื่องจากทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้ความรู้อยู่มาก ในรูปแบบ ออนไลน์ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบของ วีดีโอ (Vdo) ที่มีบอกทั้งวิธีการทำการตลาด (Marketing) หรือแม้แต่ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Science) ก็ยังมีให้เห็น ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง หรือลงทุนไปเรียนในต่างประเทศ

ทักษะที่สี่
            คือ การสื่อสาร และความร่วมมือ” (Communication and Collaborate) ทุกวันนี้เราคงยากที่ปฏิเสธการอยู่ในโลกของดิจิทัลได้ยาก เนื่องจากเทคโนโลยี ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งชีวิต และสร้างในเกิดสังคมใหม่ๆ ที่แบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ มากขึ้น และยิ่งเทคโนโลยีทำให้ทุกคนเชื่อมต่อกัน สื่อสารกันได้ง่ายขึ้น มากเท่าไร ย่อมหมายรูปแบบการทำงานย่อมเปลี่ยนแปลงแยกย่อย เป็นกลุ่มก้อน ที่มีความต้องการ ทัศนคติที่แตกต่างกันไปมากเท่านั้น

            ดังนั้น คน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มในเรื่องทักษะในการทำงานแบบใหม่ ด้วยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล (E-mail) วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) วิกิ (Wiki) แมสเสจจิง (Messaging) และเครื่องมือทางเทคโนโลยี (Colloboration Tools) ในการการแชร์ข้อมูล เพื่อที่จะให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


ทักษะที่ห้า
            คือ สร้าง และนวัตกรรม” (Create and Innovate) วันนี้จากความก้าวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นที่ทำให้สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อการทำงานได้ดีมากขึ้น ทั้งในรูปของ ข้อความ รูปภาพ ซอฟต์แวร์ หรือบริการต่าง ๆ แต่ก่อนที่จะสามารถสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆได้นั่น เราอย่างยิ่งที่ต้องมีต้องมีทักษะในการสร้างเนื้อหาออกมาในรูปแบบของดิจิทัลได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

ดิจิทัล อิมเมจ” (Digital Images) “กราฟฟิก ดีไซน์” (Graphics Design) ซึ่งยังอาจหมายถึงการเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) ด้วย เพราะเป็นทักษะที่สามารถหยิบเอาสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งจากภายใน องค์กร และภายนอก มาสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆได้ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นที่รู้จัก ก็คือ บริการแชร์ห้องพัก แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) และบริการแชร์รถยนต์อย่าง อูเบอร์ (Uber) ที่ไม่ได้ลงทุน แต่สามารถใช้สิ่งที่มีอยู่มาสร้างจนเกิดเป็นธุรกิจที่คนใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ทักษะสุดท้าย
            คือ อัตลักษณ์ และสุขภาวะ” (Identity & Wellbeing) ทักษะนี้ หากแปลความหมายตรงตัวอาจะเข้าใจไปได้ว่าคือเรื่องการแสดงตัวตน และเรื่องของการมีสุขภาพจิตใจที่ดี แต่ในความจริงแล้วมันหมายถึงการเข้าสู่โลกยุคดิจิทัล อย่างมีความปลอดภัย มากกว่า เพราะยิ่งเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากเท่าใด ย่อมหมายถึงการที่เราจะได้พบเจอกับความเสี่ยงต่อการใช้งาน



ซึ่งจากภัยคุกคามต่าง ๆ ทางด้านดิจิทัลมากขึ้น ด้วยนั่นเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เราจำเป็นต้องยกระดับทักษะ และความตะหนักรู้เท่าทัน ในเรื่องปกป้องข้อมูลตัวเอง และข้อมูลขององค์กร ตลอดจนการระมัดระวังในการเก็บ หรือตั้งรหัส ที่แสดงตัวตน ผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ และยังรวมไปถึงต้องมีความรับผิดชอบในการดูแล และป้องกันข้อมูลของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับเรา หรือบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน เพราะหากไม่มีทักษะในด้านนี้ ผลของความเสียหายรุนแรงมาก จนถึงขั้นที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบได้เลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น