ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม
ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ
(Bloom et al, 1956)
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น
3 ด้าน คือ
1.
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2.
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
3.
ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา
ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา
ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ
ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง
ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง
ๆ ได้ สามารถเปิดฟังหรือ
ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ
เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ
และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น
ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้
เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้
ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์
ผู้เรียนสามารถคิด หรือ
แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้
และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์
ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ
เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม
อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า
เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา
หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา
จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย
จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ
ได้แก่
1.การรับรู้ ...
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร
แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง
...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น
ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ...
การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ
หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ
แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด
จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ ...
การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้
จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม
แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม
และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น
ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้ ...
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ
เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ...
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ
เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.การหาความถูกต้อง
พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง
จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5.การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถปฏิบัติ
ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ
ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
กรอบแนวคิดจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
ในปีค.ศ 1956เบญจมิน บลูม และคณะ (Benjamin Bloom and other 1956)ได้พัฒนากรอบทฤษฎีที่ใช้เป็นเครื่องมือการจัดประเภทพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางปัญญาและการคิดอันเป็นผลมาจากประสบการณ์การศึกษา
เรียกว่า Bloom’s taxonomy ซึ่งกำหนดไว้ 3 ด้าน คือ
ด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) ด้านจิตพิสัย (affective
domain) และด้านทักษะทางกาย(psychomotor domain) ในการออกแบบหลักสูตร จัดการเรียนรู้
และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ก็ได้อาศัยกรอบทฤษฎีดังกล่าวนี้
ด้านพุทธิพิสัยถูกนำไปใช้มากที่สุด บลูมและคณะเสนอกรอบการพัฒนาความคิดระดับต่ำ(lower
order thinking skills) คือ ระดับ 1 – 3 ประกอบด้วย
ระดับ 1 : ความรู้
Level 1 : Knowledge (Recall and repeat information)
ระดับ 2 : ความเข้าใจ
Level 2 : Comprehension (Interpret and demonstrate
understanding)
ระดับ 3 : นำไปใช้ ( การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่)
Level 3 : Application (Apply acquired knowledge to
a new problem)
ส่วน การพัฒนาความคิดระดับสูง (higher order thinking skills) คือระดับ 4–6ประกอบด้วย
ระดับ 4 : การวิเคราะห์ ( ระบุความสัมพันธ์ และเหตุจูงใจ)
Level 4 : Analysis (Identify relationships and
motives)
ระดับ 5 : การสังเคราะห์ (การเชื่อมโยงข้อเท็จจริงโดยเหตุผลหรือรูปแบบใหม่)
Level 5 : Synthesis (Assemble facts into a
coherence or new pattern)
ระดับ 6 : การประเมิน (ใช้เกณฑ์และสถานการณ์เพื่อวินิจฉัยและการตัดสินผล
Level 6 : Evaluation (Use criteria and evidence to
make and defend judgments)
ต่อมาแอนเดอร์สัน และแครทโฮล (2001)
ได้นำเสนอแนวคิดปรับปรุง Bloom’s
Taxonomy ในการจำแนกพฤติกรรมย่อย
มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ ๆ รายละเอียด
ดังตาราง 1
ตาราง 1 เปรียบเทียบ Bloom’s Taxonomy 1956 และ 2006
New Version(Bloom's Taxonomy 2001)
|
Old Version (Bloom's Taxonomy
1956)
|
สร้างสรรค์-Creating
|
การประเมิน-Evaluation
|
ประเมิน-Evaluating
|
การสังเคราะห์Synthesis
|
วิเคราะห์-Analysing
|
วิเคราะห์-Analysing
|
ประยุกต์-Applying
|
การนำไปใช้-Application
|
ความเข้าใจ-Understanding
|
ความเข้าใจ-Comprehension
|
ความจํา-Remembering
|
ความรู้ Knowledge
|
สรุปการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ว่า
มีการเปลี่ยนแปลงในระดับคำศัพท์และระดับโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับคำศัพท์
เป็นดังนี้
จุดประสงค์การศึกษาของหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน(standards – based curriculum) จะระบุ ในลักษณะว่า
ผู้เรียนควรรู้และทำอะไรได้(เป็นกริยา) ในสิ่งใด(เป็นคำนาม) แต่ในปี 1956 บลูม(Bloom)ใช้คำนามในการอธิบายความรู้ประเภทต่าง ๆ ต่อมาในฉบับปรับปรุง ปี 2006
พฤติกรรมย่อยจึงระบุเป็นกริยา และมีการปรับเปลี่ยนคำว่าความรู้ (knowledge)
เป็น ความจำ(remember)ในฉบับปรับปรุงได้จัดความรู้เป็น
4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง (factual) มโนทัศน์(concept)
กระบวนการ(procedural) และความรู้ที่เกิดจากตนเอง
(metacognition)
ขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น
คือความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็นเข้าใจความหมาย
(understand) และการประเมิน (evaluation) เป็น สร้างสรรค์ (create)วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง
คือ
1.
กรอบแนวคิดเดิมผู้พัฒนาส่วนใหญ่เป็นผู้ออกข้อสอบในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย กรอบ
แนวคิดเดิมจึงให้ตัวอย่างข้อสอบในแต่ละขั้นพฤติกรรม
แต่ฉบับปรับปรุงจัดทำเพื่อให้ครูผู้สอนใน
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใช้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบรายวิชา
วางแผนการสอน และ
การประเมินให้สอดคล้องกันทั้ง 3 ด้าน
2
ให้ตัวอย่างภาระงานการประเมินที่อธิบายความหมายของแต่ละพฤติกรรมให้ชัดเจน
มิใช่ใช้ข้อสอบเป็นตัวอธิบายความหมาย
3.
ยุติข้อที่เป็นประเด็นถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่กำหนดว่าผู้เรียนต้องพัฒนาตามลำดับขั้นจาก
พื้นฐานสะสมขึ้นไป
โดยไม่สามารถก้าวไปสู่การใช้ความคิดระดับสูงได้ ถ้าไม่ได้ผ่านขั้นที่ต่ำกว่า
ถัดไป ซึ่งแอนเดอร์สัน และแครทโฮล (Anderson & Krathwohl) เสนอว่าจากการศึกษาสนับสนุน
เฉพาะใน 3 ขั้นของ บลูม(Bloom) คือ ขั้นความเข้าใจ ขั้นการนำไปใช้
และขั้นการสังเคราะห์ต้องสั่ง
สมเป็นลำดับ
แต่ทั้งสองคนก็ยังยืนยันในกรอบแนวคิดที่ปรับปรุงใหม่ว่าในภาพรวมแล้วจะต้อง
พัฒนาเป็นลำดับ และใช้คำถามทั้ง 4
คำถามจุดประกายความคิดของครูในการนำกรอบแนวคิดใหม่
นี้ไปใช้ในห้องเรียน คำถามทั้ง 4
ประกอบด้วย
1) คำถามด้านการเรียนรู้ :
อะไรคือสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ภายในเวลาเรียนที่
จำกัดที่จัดในชั้นเรียนและภาคเรียน
2) คำถามด้านการสอน :
เราจะวางแผนและจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่จะทำให้
ผู้เรียนจำนวนมาก ๆ
มีผลลัพธ์ของการเรียนรู้ในระดับสูง
3) คำถามด้านการประเมิน :
เราจะเลือกหรือออกแบบเครื่องมือการประเมินและใช้
วิธีการประเมินอย่างไรที่จะทำให้ได้ข้อมูลอย่างถูกต้องว่าผู้เรียนกำลังเรียนรู้ได้ดีเพียงใด
4) คำถามด้านความสอดคล้อง :
เราจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าจุดประสงค์การเรียนการสอน
และการประเมินผลมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน
โรเบิร์ต มาร์ซาโน
โรเบิร์ต มาร์ซาโน นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง
เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000)
โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมและตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน
(standard-based instruction)
รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฎีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน
ขั้นตอนวัตถุประสงค์ของมาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้
ระบบทั้งสามประกอบด้วย
1.ระบบตนเอง (self-system)
2.ระบบอภิปัญญา (metacognitive system)
3.ระบบความรู้ (cognitive system)
เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่
ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรม
เช่นปัจจุบัน
หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่ ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด
ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น
และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้
ระบบความรู้
มาร์ซาโนแตกระบบความรู้ออกเป็นสี่องค์ประกอบ
1) การเรียกใช้ความรู้
การเรียกใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับการทวนซ้ำข้อมูลจากความทรงจำถาวร นักเรียนเพียงแค่เรียกข้อเท็จจริง
ลำดับเหตุการณ์ หรือกระบวนการตามที่เก็บไว้ได้อย่างถูกต้อง
2)ความเข้าใจ
ในระดับที่สูงขึ้น
ความเข้าใจต้องระบุสิ่งที่สำคัญที่จะจำและวางข้อมูลนั้นไว้ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม
ดังนั้น
ทักษะแรกของความเข้าใจต้องระบุองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของแนวคิดรวบยอดและตัดทิ้งส่วนที่ไม่สำคัญ
ตัวอย่างเช่น
การเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของเลวิสและคลาค(Lewis and Clark) ควรที่จะจำเส้นทางซึ่งนักสำรวจใช้
แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนอาวุธที่พวกเขานำติดตัวไป
3)การวิเคราะห์
การวิเคราะห์คือ การจับคู่
การแยกแยะหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด การกำหนดเป็นกฏเกณฑ์ทั่วไป
การกำหนดเฉพาะเจาะจง
ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ผู้เรียนสามารถใช้สิ่งที่กำลังเรียนรู้เพื่อสร้าง
องค์ความรู้ใหม่และคิดค้นวิธีการใช้สิ่งที่เรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่
4)การนำความรู้ไปใช้
เป็นระดับสุดท้ายของกระบวนการความรู้สอดคล้องกับการใช้ความรู้ประกอบด้วย
-การตัดสินใจ
เป็นกระบวนการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการชั่งน้ำหนักทางเลือกเพื่อกำหนดการกระทำที่เหมาะสมที่สุด
-การแก้ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ขัดขวางการไปสู่เป้าหมาย
-การสืบค้นจากการทดลองเกี่ยวข้องการตั้งสมมติฐานต่อปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาและทางกายภาพ
-การสำรวจสืบค้น
คล้ายคลึงกับการสืบค้นจากการทดลอง แต่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต
ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่เหมือนการสืบค้นจากการทดลองซึ่งมีกฎที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเป็นหลักฐานที่อยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางสถิติ
ระบบอภิปัญญา
ระบบอภิปัญญา เป็น “การควบคุม”
กระบวนการคิดและดูแลระบบอื่น ๆ ทั้งหมด
ระบบนี้กำหนดเป้าหมายและทำการตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่จำเป็น
และกระบวนการความรู้ใดที่เหมาะที่สุดกับเป้าหมาย
ระบบตนเอง
ระบบนี้ประกอบด้วยทัศนคติความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกซึ่งกำหนดแรงจูงใจของแต่ละบุคคลให้ทำภาระงานให้สำเร็จลุล่วง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจคือ ความสำคัญ ประสิทธิภาพและอารมณ์ความรู้สึกประกอบด้วย
1) ความสำคัญ
เมื่อนักเรียนเผชิญหน้ากับภาระงาน การตอบโต้ประการแรกคือตัดสินว่างานนั้นสำคัญต่อตนเองแค่ไหน
ใช่สิ่งที่เธอต้องการเรียน หรือเชื่อว่าเธอจำเป็นต้องเรียนหรือไม่
การเรียนรู้จะช่วยให้เธอลุล่วงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่
2) ประสิทธิภาพ
นักเรียนที่มีระดับประสิทธิภาพของตนเองสูงเมื่อเผชิญกับภาระงานที่ท้าทายจะปะทะด้วยความเชื่อว่าตนเองมีทรัพยากรที่จะประสบความสำเร็จ
นักเรียนเหล่านี้จะทุ่มเทให้กับภาระงานอย่างเต็มที่
มุ่งมั่นในการทำงานและเอาชนะการท้าทายวิธีที่นักเรียนสามารถพัฒนาความรู้สึกของการมีประสิทธิภาพในตนเองไว้ วิธีที่ทรงพลังที่สุดคือผ่านทางประสบการณ์ที่เคยทำสำเร็จ
ประสบการณ์ดังกล่าวต้องไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ความล้มเหลวที่เกิดซ้ำ ๆ
จะทำให้การมีประสิทธิภาพในตนเองลดลง
แต่ความสำเร็จจากภาระงานที่ง่ายเกินไปจะไม่พัฒนาสำนึกของการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค
3) อารมณ์ความรู้สึก
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับประสบการณ์การเรียนรู้
ความรู้สึกเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อแรงจูงใจ
เช่นนักเรียนที่มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นลบต่อการอ่านหนังสือทางเทคนิคสามารถตัดสินใจที่จะอ่านตำราทางเคมีเมื่อเขารู้สึกตื่นตัวอย่างยิ่งมากกว่าอ่านก่อนที่จะเข้านอน
การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน
มาร์ซาโน (Marzano. 2001 : 30 – 60)
ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่
ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูล6 ระดับดังนี้
ประเภทของความรู้
1.
ข้อมูล เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด
รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ
2.
กระบวนการ
เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น
ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้
3.
ทักษะ เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้นกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลมี
6 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นรวบรวม
เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น
ระดับที่ 2 ขั้นเข้าใจ
เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์
เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ
ระดับที่3 ขั้นวิเคราะห์
เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่4
ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์
เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก
การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป
สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้
ระดับที่5 ขั้นบูรณาการความรู้
เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ
กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ 6 ขั้นจัดระบบแห่งตน
เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการณ์เรียนรู้และภาระ
งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ. 58)
จำแนกเป็น
1.
ทักษะการจำแนก
เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ ทั้งเหตุการณ์
เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วน
ย่อย ๆ
ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้
2.
ทักษะการจัดหมวดหมู่ เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ
จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน
โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน
3.
ทักษะการเชื่อมโยง
เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ
ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร
4.
ทักษะการสรุปความ
เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่กำหนดให้
5.
การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน
สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ
คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
การคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของบลูมและมาร์ซาโน
มีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้
บลูม
มาร์ซาโน
1.
วิเคราะห์ความสำคัญ
1. การจำแนก
2.
การจัดหมวดหมู่ 2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.
การเชื่อมโยง
3. วิเคราะห์หลักการ
4.
การสรุปความ
5.
การประยุกต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น