วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

การประเมินคุณภาพภายใน : สกอ.

การประเมินคุณภาพภายใน : สกอ.     
                 การประเมินคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งกระทำโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา โดยมีกระบวนการติดตามตรวจสอบ ความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ กระบวนการพัฒนาการศึกษาเข้าสู่คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดระบบและโครงสร้าง การวางแผน และการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้

การกำ รู้ หนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้

ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
     1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ

     2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้

     3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้

     4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้

     5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก

1.เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมินคุณภาพ       การศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่ สมศ. กำหนด และสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพภายใน
2.เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
3.เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5.เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก
1.เรียนรู้ร่วมกัน
2.ใช้เกณฑ์ของ สมศ.สถาบัน และเจ้าสังกัดของสถาบัน
3.คำนึงเอกลักษณ์ของสถาบัน
4.ใช้ฐานข้อมูล หลักฐาน ประกอบกับวิจารณญาน
5.เน้นการปรับปรุง พัฒนางานของสถาบัน
6.ประกันคุณภาพเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันมากกว่าเพื่อการประเมิน
7.คำนึงถึงมาตรฐานสากล
8.สำนึกในความเป็นกัลยาณมิตร
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรอง จากสมศ.ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
ความแตกต่างของการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน เป็นกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการวางแผน กำหนดเป้าหมาย และวิธีการทำ ลงมือตามแผน ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาคุณภาพ และจัดทำรายงานการประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี

ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก

ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก

ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
             การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)
             1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาตนเอง ให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
             2. เพิ่มความมั่นใจ และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทาง การศึกษาให้มั่นใจ ได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาม่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เนันให้ผู้เรียนเป็น- คนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
             3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผน และดำเนินการเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กำหนด
             4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับ คุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนด นโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการประเมินฅุฌภาพภาพนอก

             วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก มีดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรอง- มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)
             1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
             2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุลเด่น จุดที่ควรพัฒนาของ สถานศึกษา สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
             3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด
             4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ และประกันคุณภาพภายใน อย่างต่อเนื่อง
             5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
หลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
             การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับ คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความมี มาตรฐานทางการศึกษา และเป็นที่ยอมรับในระสับสากลต่อไป ซึ่งรูปแบบ และวิธีการ ดำเนินการจะเป็นไปตามที่ กำหนดในระเบียบของ สำนักงานรับรองมาตรฐาน และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักกการสำคัญ ประการ สือ (สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)         
             1. เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่อง การตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณให้โทษ
             2. ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความ- เป็นจริง และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (accountability)
             3. มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมาย และ หลักการศึกษาของชาติ โดยให้มีเอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทาง ปฏิบัติที่สถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็ม ตามศักยภาพของสถานศึกษา และผู้เรียน
             4. มุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริม และประสานงาน ในลักษณะกัลยาณมิตร มากกว่าการกำกับและควบคุม
             5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพ และการพัฒนาการจัด การศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ ทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

๑. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

วัตถุประสงค์สำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา คือ การพัฒนาการศึกษาให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน เมื่อมีระบบประกันคุณภาพและมีการประเมินคุณภาพ ย่อมทำให้ทราบระดับคุณภาพของสถานศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และทำให้ทราบความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ ของสถานศึกษา ตลอดจนทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพที่เปิดเผยเป็นรายงานต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ดังนี้

การควบคุมคุณภาพ เป็นการจัดระบบและกลไกสำหรับควบคุมคุณภาพภายในสถานศึกษา 

การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบดูแลระบบและกลไกที่จัดไว้ เช่น ตรวจสอบหน่วยงาน กระบวนการ และระเบียบข้อบังคับ ที่วางไว้

การประเมินคุณภาพ เป็นการตัดสินว่า คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดนั้นอยู่ในระดับใด มีจุดเด่น และจุดด้อย ที่ควรปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใด

การประกันคุณภาพการศึกษาอาจจำแนกได้เป็น ๒ ส่วน คือ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก 

๑) การประกันคุณภาพภายใน

เป็นกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเอง

๒) การประกันคุณภาพภายนอก

เป็นการดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอก คือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี


ในการประเมินคุณภาพภายนอก ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่อ้างถึงแล้วนั้น ได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย ๑ ครั้งในทุก ๕ ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

๒. หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา

ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้การประเมินคุณภาพภายนอกครอบคลุมมาตรฐาน ๔ ด้าน ดังนี้

๑) ผลการจัดการศึกษา
๒) การบริหารจัดการสถานศึกษา
๓) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๔) การประกันคุณภาพภายใน

โดยมีตัวบ่งชี้ ๑๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ด้านคุณภาพบัณฑิต

มี ๔ ตัวบ่งชี้ ได้แก่

๑. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี
๒. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โท และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
๓. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๔. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 

มี ๓ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๒. งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
๓. ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ

ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

มี ๒ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย
๒. ผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก

ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มี ๒ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๒. การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม

ด้านการบริหารและการพัฒนาสถาบัน

มี ๓ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน 
๒. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน
๓. การพัฒนาคณาจารย์

ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน

มี ๔ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด
๒. ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบัน
๓. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน
๔. ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในด้านต่างๆ

๓. วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา

๑. การประกันคุณภาพภายใน

เป็นกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาทุกระดับ ทุกแห่ง ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และวิธีการ ลงมือทำตามแผน ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาคุณภาพ เมื่อสถานศึกษามีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในแล้ว จะต้องจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นผลจากการประกันคุณภาพภายใน หรือเรียกว่า รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และเปิดเผยต่อสาธารณชน

๒. การประกันคุณภาพภายนอก

เป็นการประเมินคุณภาพของการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก โดยมีขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน คือ

๑) ขั้นตอนก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ก่อนการตรวจเยี่ยมคณะผู้ประเมินภายนอกต้องรวบรวมข้อมูลของสถานศึกษา เช่น รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดขอบเขตของการประเมินภายนอก ต่อจากนั้น คณะผู้ประเมินภายนอกจะกำหนดนัดวัน เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมสถานศึกษา

๒) ขั้นตอนในระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา เมื่อคณะผู้ประเมินภายนอกไปถึงสถานศึกษาแล้ว ต้องมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ ในการตรวจเยี่ยม มีการสังเกต สัมภาษณ์ และ/หรือดูเอกสารต่างๆ ของสถานศึกษา แล้วจึงวิเคราะห์สรุปข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ และเสนอผลการตรวจเยี่ยมด้วยวาจาต่อสถานศึกษา

๓) ขั้นตอนหรือการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา คณะผู้ประเมินภายนอกจะต้องเขียนรายงานการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ส่งให้สถานศึกษาตรวจสอบและโต้แย้ง และอาจมีการปรับปรุงแก้ไขรายงานให้สมบูรณ์ ก่อนที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน

หลักสูตรมาตรฐานสู่ชั้นเรียน

หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน ( How to use Standard in the classroom)
         การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญการเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับขั้นพื้นฐานการเรียนรู้และท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและครู Harris, Douglas E and Carr,ludy (1996 : 18) ได้นำเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังแผนภาพประกอบที่ 11



จากแผนภาพประกอบที่ 11 สรุปได้ว่า
กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึงประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
หลักสูตรและการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียนสะท้อนถึงมาตรฐานที่กำหนดในกรอบหลักสูตรมลรัฐ
          กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนเชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ม 1 หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาในขณะเดียวกันก็ต้องสนองต่อความต้องการสนใจของนักเรียนและชุมชนด้วยเหตุผลดังกล่าวกิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนจึงควรสร้างจากแหล่งข้อมูลของท้องถิ่นหรือเหตุการณ์ประเด็นปัญหาต่างๆในท้องถิ่นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียนท้องถิ่นและมลรัฐควรใช้ข้อมูลจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะบอกได้อย่างดีว่าผลการเรียนของนักเรียนถึงมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานสู่ความสำเร็จ : หลักสูตร การประเมินผล และแผนปฏิบัติการ
          เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องใช้มาตรฐานใดแล้วทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ามาตรฐานของโรงเรียนคืออะไรและจะนำไปใช้อย่างไรคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนการประเมินที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญคือการประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานการได้ข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลนักเรียนจะบรรลุตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์นั้นจะต้องเตรียมวิธีปฏิบัติกระบวนการและหลักสูตรการเรียนการสอนต่างๆให้พร้อม การตัดสินใจว่าจะสอนและประเมินมาตรฐานใด จะสอนมาตรฐานดังกล่าวในระดับชั้นใดรายวิชาใดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ฐานข้อมูลว่าใครจะสอนและประเมินมาตรฐานใด และจำเป็นต้องมีการทบทวนแผนว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่จุดเน้นของหลักสูตรสถานศึกษาเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดหมายคำถามเดิมที่ว่าใครสอนหัวข้อใดหรือครูจะใช้สื่อการสอนอะไรจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นใครสอนมาตรฐานอะไรการเรียนการสอนใช้รูปแบบใดและใครเป็นผู้ประเมินมาตรฐานโดยวิธีการใด เป็นต้น
          กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน Carr,ludy F and Harris, Douglas E. (2001:45 - 49)เสนอคำถามที่เกี่ยวข้องคือจะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไรซึ่งการประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบการวัดหรือการให้คะแนนการประเมินเป็นตัวการของการสอนเป็นกระบวนการของการวัดปริมาณ การอธิบายการรวบรวมข้อมูลหรือการให้ผลย้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการประเมินชั้นเรียนโดยใช้มาตรฐานเป็นฐานคือบอกให้รู้เกี่ยวกับการสอนและการปรับปรุงการเรียนรู้ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินยาสะท้อนสิ่งต่างๆดังนี้
          ให้แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการศึกษา
          เห็นความสำคัญของนักเรียนแต่ละคนหลักสูตรเฉพาะและการปฏิบัติในสถานศึกษา
          ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้และทักษะแบบบูรณาการตลอดหลักสูตรหรือไม่
          เสนอวิธีการและข้อมูลเพื่อสื่อถึงผลการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
          การประเมินประสิทธิผลของชั้นเรียนต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในขณะนั้นรวมทั้งมีลักษณะรวบยอดตรวจสอบผลลัพธ์ได้จากหลักสูตรเดียวกันหรือข้ามหลักสูตร
          มีลักษณะหลากหลายเชื่อถือได้เชิงเทคนิค
          การวางแผนการประเมินต้องมองในมุมกว้างแผนการประเมินคือเครื่องมือออกแบบเป็นชุดของตัวเลือกที่คำนึงถึงเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการประเมินให้สัมพันธ์กับมาตรฐานได้อย่างไรการใช้แผนการประเมินนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า จากการนำผลการประเมินไปใช้จะชี้แนะกระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเรียนการสอน
          นักเรียนมีโอกาสหลากหลายที่จะแสดงผลสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
          นักเรียนให้คำตอบที่สร้างสรรค์ได้หลายแบบเช่นผลงานและการปฏิบัติ
          แนวการให้คะแนนแบบต่างๆใช้เพื่อกำหนดผลป้อนกลับด้านการเรียนรู้ของนักเรียน

การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ

การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ
            กรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหรือกล่าวโดยความเข้าใจทั่วไปคือ กรอบทิศทางในการจัดหลักสูตรของโรงเรียน ซึ่งหมายถึง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรที่ใช้แนวคิดหลักสูตรอิงมาตรฐาน เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนั้นการดำเนินการทุกขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้จะต้องยึดหลักการบริหารจัดการที่อิงมาตรฐาน การวัดและประเมินผลต้องสะท้อนมาตรฐาน การจัดการเรียนรู้โดยมาตรฐานเป็นเป้าหมาย
            การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาและมีคุณภาพตามตัวชีวัดทั้งหมด ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนย่อมเกิดสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรที่กำหนด 5 ประการ คือ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
            ความสามารถหรือสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ประการ ได้ถูกกำหนดเป็นลักษณะของสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฎิบัติได้ในแต่ละตัวชี้วัดในกลุ่มสาระต่าง ๆ ของหลักสูตรแกนกลางฯ แล้ว
การออกแบบโครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
            การออกแบบโครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ ตามแบบฟอร์ม ควรวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดทุกตัวในรายวิชาให้ชัดเจน ดังนี้



11

            1. คำสำคัญในตัวชี้วัด ตัวชี้วัดจะระบุสิ่งที่นักเรียนควรรู้ และควรปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่จะบ่งบอกเกี่ยวกับด้านความรู้ และทักษะ/กระบวนการ สำหรับคุณลักษณะ/เจตคติบางตัวไม่ได้ระบุไว้ จึงควรพิจารณาว่า มีตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อใดหรือไม่ที่สอดคล้องกับการนำมาพัฒนา หากไม่มีข้อใดที่เหมาะสมไม่จำเป็นต้องใส่
            2. หลักฐานการเรียนรู้ จากคำสำคัญมาพิจารณาว่าร่องรอยหลักฐานอะไรที่จะบอกได้ว่ามีคุณภาพตามที่ตัวชี้วัดกำหนด ซึ่งอาจจะเป็นชื้นงานหรือภาระงาน เช่น คำสำคัญ คือ การออกเสียงหลักฐานการเรียนรู้อาจจะเป็นภาระงานให้อ่านออกเสียงจากเรียงที่สนใจ
            3. แนวทางการประเมินหรือกิจกรรมการประเมิน  กำหนดให้ชัดลงไปว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร เพื่อผู้เรียนได้ทำภาระงานหรือชิ้นงานนั้น เช่น ภาระงานให้อ่านออกเสียงจากเรื่องที่นักเรียนสนใจ แนวทางการประเมินอาจเป็นนักเรียนออกมาอ่านออกเสียงหน้าชั้นเรียน หรือจับกลุ่มสลับกัยอ่านออกเสียง
            4. วิธีการประเมิน ซึ่งรวมทั้งวิธีการและเครื่องมือ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักฐานการเรียนรู้และแนวทางการประเมินหรือกิจกรรมการประเมิน จากตัวอย่างข้างต้นวิธีการประเมินควรเป็นการสังเกตการออกเสียงและเครื่องมือประเมินควรเป็นแบบสังเกต
ในหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐานจะประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 ประเภท ได้แก่
            1. กิจกรรมนำเข้าสู้การเรียน (Introductory activities)
เป็นกิจกรรมเริ่มต้นช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะดำเนินขั้นต่อไปในหน่วยการเรียนรู้นั้น
            2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (Enabling activities)
เป็นกิจกรรมช่ววยเสริมสร้างให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้านความรู้และทักษะ เป็นกิจกรรมในขั้นตอนสุดท้ายที่ให้ผู้เรียนทำชิ้นงานหรือภาระงาน

ครูมีบทบามสำคัญ
            ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ส่งผลให้จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ครูผู้สอนควรได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยยึดหลักการสำคัญ ดังนี้
1. ครูต้องศึกษา ทำความเข้าใจเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. ครูต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยเน้นความสำเร็จตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตังชี้วัดของหลักสูตร
3. ครูควรมีข้อมูลมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
4. ครูต้องจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ครูต้องจัดเตรียมและใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. ครูต้องจัดให้มีการวัดประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยเน้นการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงเป็นสำคัญ
7. ครูต้องนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาผู้เรียน
8. ครูต้องใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนา

การประเมินผลและการนิเทศ

การประเมินผลและการนิเทศ
Carr,ludy F and Harris, Douglas E. (2001:153)กล่าวสรุปไว้ว่า การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศและการประเมินผลมีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐานและได้นำเสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน 7 ประการดังนี้
          หลักการที่ 1 ประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอนการพัฒนาวิชาชีพตามระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานมีคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานดังต่อไปนี้
                   ใครจะรับผิดชอบมาตรฐานใด
                   แนวทางการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไรในชั้นเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างไร
                   ระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ตั้งไว้เท่าใดใช้เกณฑ์ใดในการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของมาตรฐานและจะประเมินมาตรฐานอย่างไร
                   ใช้ข้อมูลใดบ่งบอกว่าบรรลุมาตรฐานและอะไรบ้างที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน
          หลักการที่ 2 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตนเองเป้าหมายของการวางแผนการสอนมีขอบข่ายเนื้อหาที่จะปรับปรุงผลการเรียนรู้ผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยเชื่อมโยงลำดับความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพกับแผนการสอนกรณีตัวอย่างสถานศึกษากำหนดแผนการพัฒนาประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประเด็นคือการวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนและการจัดทำแฟ้มสะสมงานการพัฒนาวิธีการวัดผลหลังจบหลักสูตรในแต่ละประเด็นเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้สอนในด้านการสอนและประเมินการแก้ปัญหาโดยเปิดโอกาสให้จัดทำแผนพัฒนาวิชาชีพระยะยาว
          หลักการที่ 3 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแบบกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียนการสร้างตัวแบบเริ่มโดยเน้นที่มาตรฐานโดยคาดหวังว่าผู้สอนจะต้องสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำหนดโครงการพัฒนาวิชาชีพจึงต้องยึดมาตรฐานตัวอย่างเช่น  การใช้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครู ครูต้องร่วมกันวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนทบทวนสิ่งที่นำไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนรวมทั้งศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระและวิธีการสอนตามความต้องการของนักเรียนสิ่งต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในชั้นเรียนที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
          หลักการที่ 4 ประสบการพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้หลักการสำคัญของยุโรปที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ดังนี้
                   มาตรฐานเน้นการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคนและทุกวัย
                   ผู้เรียนทุกคนสรรค์สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆได้
                   ผู้เรียนเรียนรู้จากผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยการค้นคว้าและการฝึกคิดทบทวน
                   การประเมินผล ก็ให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
          หลักการที่ 5 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำกล่าวคือครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานบทบาทผู้นำอย่างเป็นทางการของครูคือบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาครูควรเป็นผู้ตัดสินใจในการคัดเลือกทีมงานวางแผนการสอนคัดเลือกเนื้อหาโดยเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครูควรเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานกำหนดกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลวิเคราะห์ผลงานของนักเรียน
          หลักการที่ 6 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานการศึกษาอื่นการเชื่อมโยงด้วยมาตรฐานคือวิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบฉะนั้นองค์ประกอบและการตัดสินใจล้วนส่งผลต่อส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
          หลักการที่ 7 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียนความมีประสิทธิผลรวมถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนทุกคนและความเสมอภาค(ลดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียน) หรือทั้งสองอย่าง ผลการวางแผนการสอนจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงโดยใช้ผลการเรียนรู้ของนักเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล
            การติดตามและประเมินผล จะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบการติดตามและประเมินผล นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ดำเนินโครงการทราบว่าโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ดำเนินการประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพหรือไม่ ผลจากการติดตามและประเมินผล จะให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ จุดแข็ง จุดอ่อน และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน ช่วยให้การบริหารแผนงานและโครงการมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ระบบการติดตามและประเมินผลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบริการแผนงานและโครงการ เพราะในวงจรบริหารแผนงานและโครงการ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) การควบคุม (Control) และการประเมินผล (Evaluation) ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดขาดประสิทธิภาพก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารแผนงานและโครงการทั้งหมด
ความหมายของการติดตามและประเมินผล
            การติดตามและประเมินผล  มีคำซึ่งมีความหมายเฉพาะตัวที่แยกจากกันได้ชัดเจน  แต่ในการดำเนินงานหรือจัดกิจกรรมแล้วมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด  จนทำให้เกิดความสับสนอยู่เสมอ คือ คำว่า  ติดตาม  (Monitoring) และคำว่า ประเมินผล (Evaluation) ทั้งสองคำดังกล่าวมีวิธีทำงานที่แตกต่างกัน คือ การติดตาม เป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะต่างจากการประเมินผลดังนี้
              1. การติดตาม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฏิบัติงานตามแผน  ซึ่งมีการกำหนดไว้แล้ว เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ  แก้ไข ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน หรือกำหนดวิธีการดำเนินงานให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น จุดเน้นที่สำคัญของการติดตาม คือ การปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ การปฏิบัติงานของโครงการ
               2. การประเมินผล เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ
               3. การติดตาม จะเกิดขึ้นในขณะที่โครงการกำลังดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนการประเมินจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการ นับตั้งแต่ก่อนตัดสินใจจัดทำโครงการ ในขณะดำเนินงานในช่วงระยะต่าง ๆ และเมื่อโครงการดำเนินงานเสร็จแล้ว หรือประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
                4. การประเมินผล บางมิตินำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จของโครงการ  การว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้หรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง
                5. ความแตกต่างและส่วนที่ซ้ำซ้อนกันของการติดตามและประเมินผล คือ การติดตาม (Monitoring) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการที่กำหนดได้อย่างไร ข้อมูลที่ได้จะนำมาประกอบเป็นเครื่องมือ ควบคุม กำกับ การดำเนินงานในขณะปฏิบัติโครงการโดยตรง ทั้งในด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และด้านผลผลิต (Output)สำหรับ การประเมินผล (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง ขึ้นอยู่ว่าจะประเมินในขั้นตอนใดของโครงการ เช่น ก่อนเริ่มโครงการ ขณะดำเนินโครงการซึ่งอาจดำเนินการเป็นช่วง เป็นระยะต่าง ๆ เช่น ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน ทุกปี ประเมินเมื่อโครงการดำเนินงานไประยะครึ่งโครงการ เป็นต้น หรือเป็นการประเมินผลเมื่อโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว